[CUSE] สอบป้องกันวิทยานิพนธ์

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ของผมในปีนี้จะเป็นเคสพิเศษ (New Normal) ครับ โดยเป็นการสอบในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ครับ โดยสอบไปเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 ครับ ผมอาจจะเผยแพร่ Blog ในช่วงที่เกี่ยวกับการสอบช้านิดนึงนะครับ รอสรุปพวกเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยก่อนครับผม

ก่อนจะสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้

  • ร่างวิทยานิพนธ์ต้องเสร็จเรียบร้อย
  • เครื่องมือ หรืออื่นๆที่ได้จากงาน ถูกพัฒนาเรียบร้อยตามขอบเขตที่กำหนดไว้ครับ อย่างของผมเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อสร้างมิวแตนท์ของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นตามหลักการทดสอบวีคมิวเทชัน โดยเครื่องมือมีการตรวจสอบผลการทำงานกับ BPMN Engine (Camunda) ได้อย่างอัตโนมัติครับ
  • พบอาจารย์ที่ปรึกษาบ่อยๆครับ มองให้มันเหมือน Agile ก็ได้ครับ ที่ค่อยทำที่ละรอบ ให้มีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆครับ
  • อย่างสุดท้ายอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้สอบได้ครับ
  • เตรียมเอกสารให้พร้อม โดยดูจาก Blog [CUSE] เตรียมเอกสารก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และตรวจสอบคู่มือของคณะคู่กันไปด้วย

เตรียมตัวก่อนสอบ

  • เอกสาร/แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในการสอบครับ อันนี้ผมขอเขียนเป็นอีก Blog แยกดีกว่าครับ
  • จัดเนื่อหาการนำเสนอ สำหรับผมมันยากมากครับ ปกติงานของผมเป็นงานหลังบ้าน ไม่ค่อยได้พบปะผู้คนเท่าไหร่ครับ ทำให้กลัวการนำเสนอมาก ว่าจะพูดเป็นไฟสนก้นไหม
  • จัดเวลาให้ดีครับ เช่น นำเสนอ + Demo 50 นาทีเป็นต้อง ที่เหลือให้คณะกรรมการสอบถามครับ (ของผมแย่กว่านั้น นำเสนอ + Demo 62 นาทีครับ กลัวจะพูดไม่รู้เรื่อง เกร็งแล้วพูดช้าๆ มีหลุดบ้างด้วย T__T)
  • Practice Makes Perfect - ซ้อม แล้วให้มีคนแนะนำติชม อย่างผมลองซ้อมกับ Zoom ก่อนครับ จะได้รู้ข้อจำกัดครับ หรือปรับเวลาครับ เพราะรอบแรกที่ผมซ่อมเอง นำเสนอ + Demo เกือบๆ 85 นาทีครับ
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น Windows Update ปิดได้ก็ปิดมันครับ หรือปัญหา Network หาทางสำรองไว้ ของผมเตรียมมือถือไว้เป็นเนตสำรองครับ ถ้าวันสอบ Network ที่บ้านมีปัญหาจริงๆ

คำถามที่จะโดยยิงจากคณะกรรมการที่จะเจอประจำ

  • งานวิจัยที่มีประโยชน์(Contribute) อะไรให้กับวงการบ้าง เช่น สร้างองค์ความรู้ใหม่ / พัฒนาอัลกอริทึมใหม่ สร้างเครื่องมือ เป็นต้น
  • แนวคิดของงานตัวเอง หนักแน่น หรือไม่ อาจจะโดยกรรมการถาม การตอบต้องมีหลัก หรือ ทฤษฏี รองรับด้วย บางจุดผมก็ตอบตามสัญชาตญาณไปครับ ซึ่งมันอาจจะถูก แต่ไม่หนักแน่นครับ
  • การทำงานของอัลกอรืทึม หรือ เครื่องมือที่สร้าง อย่างเครื่องมือของผมมีการทำงานเชื่อมกับ BPMN Engine (Open Source) มีโดนถามว่า มีหลักการทำงานอย่างไร แล้วส่วนที่เราทำในงานวิจัย เราเขียนเองในเครื่องมือของเรา หรือ Open Source มันทำมาให้แล้ว
  • คณะกรรมารช่วยตรวจสอบงานเขียน อาจจะมคำถามว่าส่วนที่เขียนมา ต้องการสื่อสารอะไรให้กับผู้อ่านครับ เพราะ เราต้องรับผิดชอบกับงานเขียนของตัวเองด้วยครับ

สุดท้ายแล้ว

  • ผมสอบผ่านด้วยผลการประเมินในระดับ ดี ครับ ใกล้การจบปริญญาโทไปอีกนิดแล้วครับ เหลือแต่พวกงานเอกสารแล้วครับ หลังจากเจอปัญหาต่างๆมากมาย จนทำให้แผนที่วางไว้ว่าเรียน 5 เทอม ไปเป็น 7 เทอมแทนครับ จากปัญหาที่บ้าน และที่ทำงานครับ
  • Blog ต่อจากนี้เป็นการเตรียมเอกสารหลังสอบครับ [CUSE] เอกสารหลังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

Discover more from naiwaen@DebuggingSoft

Subscribe to get the latest posts to your email.