The Cloud Camp Week#02 (Cloud Native Architecture)

สำหรับสัปดาห์นี้จะเรียนให้หัวข้อ Cloud Native Architecture ว่าจะทำ App ให้เป็น Cloud Native ต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง

0. Recap Application Process / Application Deploy

  • Application Process จาก Code > Build > จะได้ตัว
    - OS
    - Need Runtime พวก asp.net (dotnet) / spring-boot (java-jdk/jre) / ts, js (Node.JS)
  • Application Deploy จากเดิมทำมือ > pack package แต่มีปัญหา Environment > ยุค Container ที่ลดปัญหา Environment ลงไป

1. How to manage a Lot of Traffic

Traffic มาจากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็น user หรือ ระบบเอง เราคงไม่สามารถสร้าง Server ขนาดใหญ่มาจัดการได้หมด เลยต้องมี Load Balancer มากระจาย Traffic ให้กับ App แค่ละตัว
แต่ทว่าพอเพิ่ม App หลายๆตัวเข้ามา ใช่ว่าปัญหาจะจบ มันมีเรื่อง

  • การ Deploy / Monitor
  • Load เยอะใน App ตังให้ตัวหนึ้งจะรู้ได้ไง
    เมื่อก่อนใช้ Operation มาดู แต่ตอนนี้ถ้าเป็นยุค Container จะใช้ตัว K8S ต้องมาดูในส่วนของ Liveness Probe / Readiness Probe
  • นอกจากนั้นยังต้องมาหงุดหงิดจัดการ Version ของ App / Library (Dependency) / Runtime ที่แต่ละ Environment ใช้

ปกติขา dotnet ที่ดูทำ API สำหรับ HealthCheck แต่ลองไปค้นๆมา มีคนทำ Lib ไว้แล้วด้วย

2. Cloud Native Architecture Fundamental

  • Cloud Native - App ที่ Optimize มาสำหรับ Cloud ในด้าน Cost (Scale) / Reliability / Time to Market
  • How To - มันไม่ได้ปรับที่ Tech อย่างเดียว สร้าง
    -Team Culture - ดูจากเล่ม Team Topology
    -Tech Stack ดูจาก cncf
    -Design: Design Pattern / Architecture Pattern / Domain Driven Design
  • Monolithic VS Microservice
    - Monolithic จัดการง่าย รวม 0
    - Microservice กระจาย Code จัดการง่ายขึ้น แต่มี Complexity ในการสื่อสารเพิ่มขึ้น และมี app version / library version / Runtime ที่ไม่ตรงกัน
  • ถ้าเริ่มแรกต้องต้นจาก Monolithic ก่อน แต่แยก Domain ให้ชัดเจน และทำ Micro-Module พร้อมแยกตัว (ฝั่ง dotnet ผมแยก project/dll) Ref. Martin Fowler

3. Characteristics of Cloud Native

  • High Level of Automation ต้องเริ่มวางแผน Infra โดยเริ่มจาก
    1. Network Infra
    2. Architecture Infra - วาง Workload APP / DB / Load balance และอื่นๆ
    3. Application Infra - เจาะลงไปใน App จะเอา App เดิมขึ้นมาเลย / ทำเป็น Monolithic / Microservice เลย)
    4. Deployment Process (CI/CD)
    Note: ข้อ 1/2 นึกถึงพวก Landing Zone ของพวก Cloud
  • Self healing ทำให้ App มันยืดหยุ่น ตายแล้วฟื้นมาได้ไว (Resilience) โดยมี Pattern สำคัญ
    - Circuit Breaker - ถ้าอันไหนพัง ตัดทิ้ง แล้วให้ระบบทำงานต่อไปได้
    - Feature Toggle (Open-Close แบบ Load Traffic จาก V1 ไป V2)
    - Auto Restart
    - Ready
  • Scalable
  • Cost-Efficient หรือ FinOps เริ่มจาก
    - Inform ทำให้เห็นก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น มี Observability
    - Optimize (ลด / ปิด)
    - Operation (ทำให้มัน Automate)
  • Easy to maintain - 12 Factor / scalable architecture/automation process / pattern & test.
  • Secure by default - zero trust.

4. Autoscaling

เงื่อนไขว่าจะอะไรมา Scale ตาม Load หรือ Reqest ที่เข้ามาหนักหน่วง (Intensive)

  • จับจาก Resource เช่น CPU / Memory / GPU / Connection (Pool / Response ที่ตอบช้าลง)
  • ช่วงเวลา Custom เช่น Business ช่วงต้องปิดงบไตรมาส

ภาพ App Service Plan ลอยมาเลย สำหรับรูปแบบการ scale มี 2 แบบ

  • Vertical Scaling (Scale UP/ Down) เป็นการขยาย/ลดขนาดของ Instance ให้มี Resource มากขึ้น เช่น CPU / RAM
    - Prod จัดการได้ง่าย เพราะตัว App เดิมๆ ที่อาจจะเป็น Stateful (เช่น พวก DB) ไม่ต้องมาปรับตัวอะไรมาก
    - Con single point of failure และมื่อถึงจุดที่ต้องการ Spec สูงๆ จะเริ่มแพงขึ้น เพราะหาเครื่องในท้องตลาดยาก
  • Horizontal Scaling (Scale Out / In) เป็นการเพิ่ม / ลดจำนวน Instance
    - Prod เพิ่ม Availability + fault-tolerance
    - Con Complexity เพิ่มต้องมาจัดการ Instance / Communication และเรียนรู้ Tools เข้ามาช่วย อย่าง K8S
    รวมถึงต้องคิดตั้งแต่ Design App ควรต้องเป็น Stateless ไม่ถืออะไร เดวจากลาไม่ต้องมาตามล่า รวมถึง Cost ที่เพิ่มขึ้น

5. Networking

หัวข้อนี้คำศัพท์เยอะ - หลายคนที่ไม่เคยใช้งาน Cloud อาจจะงงได้

  • Cloud Service Provider - ผู้ให้บริการ Cloud ไม่ว่าจะในประเทศ เช่น PROEN / NIPA หรือ ต่างประเทศ ตัวอย่าง Azure / AWS / GCP / Alibaba / Huawei เป็นต้น
  • Region - ภูมิภาคแบ่งตามภูมิศาสตร์ (Geo-Location) เพื่อตั้ง Cloud โดย Region จะแบ่งย่อยเป็น Zone ตั้งแต่ 3 ที่ขึ้นไป
    • Zone (Availability Zone) ศูนย์ข้อมูลที่กระจายกันอยู่ใน Region เพื่อรองรับเรื่องของ High Availability (HA)
      • Local Zone - ช่วยการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ (Data localization) / งานที่ต้องการ latency น้อยๆ อย่าง เช่น DNS, Proxy หรือ พวก CDN อาจจะแบ่งมาทำ Private Cloud ก็ได้นะ ถ้าเงินหนาพอ
  • Virtual Private Cloud - Switch ขนาดใหญ่ใน Region เหมือน Network วงใหญ่ของเรา ปกติ 1 Region จะมี่ 1 VPC แต่อาจจะแบ่งย่อยได้ ถ้าต้องการทำ DC/DR เป็นต้น อ๋อ VPC บางค่ายอาจจะเรียกว่า VNET
    • Subnet พื้นที่ย่อยแบ่งจาก VPC ตามแต่ Availability Zone สำหรับงานต่างๆ โดยแยกกลุ่ม
      - Public Subnet - งานที่เข้าต้องให้เข้าจาก Internet เช่น Load Balance / Portal และเขียนกับ Internet Gateway ปกติจะ Allocate IP น้อยๆ
      - Private Subnet - งานที่ไม่ต้องการ Access จากข้างนอก เช่น Database / Business Tier ถ้าต้องการ Internet อย่าง Update Patch จะอยู่ผ่าน NAT Gateway
    • CIDR (Classless Inter-Domain Routing) - วิธีการจัดสรรพื้นที่ IP Address ของ VPC / Subnet
  • Route Table - ตารางบอกที่อยู่ ว่า Subnet A > B หรือต้องไปออก Internet ผ่าน Internet Gateway / NAT Gateway ต้องไปทางไหน
  • VPC Peering การเอา VPC 2 จุด มาเชื่อมกัน เช่น คนละ Region โดยที่ IP Range ห้าม Overlap กัน

สำหรับความสัมพันธ์ทั้งหมด จะอยู่ตามภาพนี้

6. Serverless

Serverless อีกชื่อนึง Function as a Service เป็นอีกแนวคิดนึง Deploy Code เล็กๆ เอามาแปะ / ทำ .zip / ทำ Container ให้ทำงานได้ โดยที่เราไม่ต้องสนใจงานด้าน Infrastructure เลย ให้ Cloud จัดการให้ ลดงาน Developer โดยงานที่ใช้จะเป็น

  • เหมาะกับงานที่ลองอะไรเล็กๆ / Test ก่อน ขยับขยาย เพราะมันคิด Cost ตาม Event / Request
  • หรือ จะเป็น Extension เสริม เช่น สั่งปิด / เปิด VM หรือ จะลอง Test Check Health App ถ้าไม่ Response ให้เปิด Stack อีก Region ขึ้นมาทำงาน

On-Premises มีตัวให้ใช้งานนะ อย่าง K8S มีตัว Knative ให้ทำ Serverless

7. Open Standard

Open Standard เป็นแนวทางที่ช่วยให้ตัว Open-Source Project มีแนวทางพัฒนาไปในทางเดียวกัน แลัวสามารถเอามาใช้งานร่วมกันได้ รวมถึงเพื่อป้องกันปัญหา Vendor Lock และลดเวลาในการแก้ปัญหาจุกจิ อย่าง เช่น พวก OS

อย่างตัว Linux Foundation ในส่วน Container แยกเป็น How to build and run containers อาที เช่น

พอมันมี Open Standard มันเลยเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงใช้ docker image บน podman / K8S ได้ หรือว่าจะโยก pod จาก podman ขึ้น K8S ได้เลย

CloudEvents - เป็นอีกที่เข้ามาตามแนวคิดของ Open Standard ที่ดูแลโดยทาง CNCF โดยสิ่งที่ CloudEvents เข้ามาช่วยที่ให้การสื่อสารระหว่าง Platform ต่างๆ อย่าง Cloud Service Provider / On-Premise หรือ Service อื่นๆ คุยกันได้สะดวก ตอนทำ Serverless ถ้าต้องส่ง Event ข้ามไป/มา สะดวกขึ้น //ดู AZ-104 มา CloudEvents v1.0 schema with Azure Event Grid เหมือน Connect-the-dots

OpenTelemetry - อีกอันที่ดูแล โดยทาง CNCF

8. Cloud Native Roles

- Cloud Architect
- DevOps Engineer
- Security Engineer
- DevSecOps Engineer
- Data Engineer
- Full-Stack Developer
- Site Reliability Engineer (SRE)
- Observability Engineer

9. Community and Governance

  • ถ้าเรามี Open-Source Project อะไร สามารถเอาไปเสนอให้ทาง Foundation ใหญ่ๆอย่าง Linux Foundation / CNCF Foundation เพื่อมาเป็นที่ปรึกษา / ขอ Funding ได้่
  • สำหรับทาง CNCF เองจะมีทีมงาน Technical Oversight Committee (TOC) ที่ตั้งมาจากองค์กรใหญ่ ที่ให้ Funding กับ CNCF เอง เข้ามาช่วยแนะนำ เป็นที่ปรึกษาตามแนวทาง “minimal viable governance" ที่เข้ามาช่วยแนะนำให้เรื่อง technical vision / common practices ที่ควรทำ / approving new projects / accepting feedback จาก End-User โดยที่ TOC มาจากองค์กรใหญ่ๆ
  • TOC มีหลายคณะแยกตามสาขาที่เรียกว่า TAG ตอนนี้มีส่วน TAG-Security / TAG-Storage / TAG-App-Delivery / TAG-Network / TAG-Runtime / TAG Contributor Strategy / TAG Observability และ TAG Environmental Sustainability

10. CNCF Graduation Criteria v1.3

การที่เราจะเลือกเอา Tools / Lib มาใช้ เราสามารถใช้ Project Maturity เข้ามาช่วยในการตัดสินใจได้ โดย Project Maturity เป็นเกณฑ์ที่วัดการเติบโต วุฒิภาวะของตัว Project โดยเริ่มจาก

  1. Sandbox Stage - TOC ช่วยดูว่า Project ที่เสนอมา ใช้งานได้ดีไหม และมี Community ระดับนึง
  2. Incubating Stage - การขยับจาก Sandbox ขึ้นมา Incubating มีคนใช้งานจริงบน Production 3 เจ้า และต้องมีการกำหนด Process ชัดเจน
    - Commit และ Contribute Project
    - แนวทางการจัดการด้าน Security เช่น การ Patch ช่องโหว่ที่เกิด
    - Release Roadmap เป็นต้น
  3. Graduation Stage
    - มี 2 องค์กรใหญ่ เข้ามาร่วม Contribute (ถ้าเข้ามาแสดงว่ามันไม่ล่มและ)
    - ทำ Guideline จนได้ Best Practices Badge
    - มี 3rd Party เข้ามาตรวจสอบด้าน Security

Ref: Project Metrics | Cloud Native Computing Foundation (cncf.io)

สำหรับวัน On-Site มีจับกลุ่มแบบสุ่มมองลองเอาที่เรียนมา มา Design ตามโจทย์ที่ได้จับสลากมา

  • มันจะได้หลากหลาย Domain และหลายมุมมอง ถ้ามองจากมุมของผมที่จับ Product เดิมๆมาจากภาพ Architecture ไม่ค่อยได้ขยับเท่าไหร่
  • อย่างกลุ่มผมวันนั้นได้การทำ Crypto Exchange เปิดโลกเลย และนอกจากการ Technical Design แล้ว Business สำคัญมากนะ ถ้าตีไม่แตก แล้ววนในอ่าง อาจจะพลาดโอกาสในการสร้างรายได้ แม้ว่า Architecture มันจะ Design ให้รับ Scale Load ได้เยอะแค่ไหน ถ้าคนไม่เข้ามาใช้ก็จบ...

มี keyword อื่นๆที่จำได้ เช่น

  • Transactional outbox (microservices.io) น่าจะใช้แหละที่ไม่ต้องรอให้มัน insert ให้จบส่งเข้า queue หรือ message buffer แล้วให้มันจัดการต่อ //สำหรับงานที่ไม่ได้ Required Transaction
  • microservice ถ้าแยกย่อยเยอะๆ ต้องระวังเรื่อง delay chain (บัญญติเองนะ) ที่มันช้าจากการมา Call Service ไป insert และส่งต่อ ที่ละ DB แล้วสุดท้ายไปทำ Business Delay แทนอันนี้อาจจะต้องเอา event-driven หรือตัวใหม่ SAGA มาช่วย
  • CQRS ผมชอบจำสลับ CORS 555 - แยก Write / Read ออกจากนั้น ผมที่คุ้นกับ RDBMS อารมณ์แบบว่าให้ไป Read on Standby หรือ Replicate DB
  • 4C Cloud Native Security จากเล็กไปใหญ่
    - Code
    - Container
    - Cluster
    - Cloud
  • Site Reliability Engineer (SRE) ทำให้มันไม่ล่ม โดยมี Keyword ที่ต้องรู้สามคำ
    - Service Level Objectives (SLO) - เป้าหมายของ Service ที่ต้องการ (a target level for the reliability of your service) เช่น
    >> ป้ายหน้า Site ก่อนสร้างบอกว่าต้องปลอดภัย 99.95%
    >> ถ้าเอา IT มาหน่อย Server ต้องทำได้ได้ 99.98% / Service ต้อง latency <= 100ms
    - Service Level Indicators (SLI) - metric (quantitative measure of some aspect) เอามาวัด SLO
    >> จากอันตะกี้ ก่อสร้างจำนวนวันที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ มาวัดจำนวนวันที่ไม่เกิดเหตุ
    >> หรือ Service ต้อง latency <= 100ms จะได้ SLI มาเป็น how long a request actually needs to be answered
    - Service Level Agreements (SLA) - สัญญาว่าจะทำตาม SLO ปกติเอาไว้คุยกับลูกค้า
    - error budget = มูลค่าที่ App เสียไปเมื่อมีปัญหาที่ยอมรับได้ แต่ต้องไม่เกินพวก SLA
  • 12 Factor for Cloud Native แบ่ง 3 กลุ่ม 12 ข้อ
    - Build System
    >> Codebase
    >> Dependency
    >> Config
    >> Backing services resource ที่ App ใช้ เช่น DB / Queue
    >> Build / Release / Run
    - Scalable System
    >> Processes - เน้นให้ App ทำเป็น Stateless
    >> Port binding
    >> Concurrency - Scale แตก Process
    >> Disposability - Graceful Shutdown
    - Maintainable System
    >> Dev/prod parity - ทำให้ Environment ใกล้เคียงกัน Container มาช่วยส่วนนี้
    >> Logs - Async - Stream
    >> Admin Processes

อ๋อวันเรียนคุณโจโจ้ มีเอาหนังสือมาป้ายยาด้วย Cloud Native Transformation น่าสนใจ เดวรอ Humble มาจัด Set ฮ่าๆ ฺ

Reference


Discover more from naiwaen@DebuggingSoft

Subscribe to get the latest posts to your email.