เห็นหลายคนมักจะบอกว่าระบบที่ตัวเองดูแล หรือ ที่เห็นมัน มันมีความ Enterprise Application เรามาดูกันว่าจริงๆแล้ว ถ้าเอาตามนิยามของคุณ Martin Fowler อะไรถึงเรียกว่าเป็น Enterprise Application ครับ
- Involve persistent data
- A lot of data
- Access data concurrently
- A lot of UI screens
- Integrate with other enterprise applications
- Complex business rules and keep changing
ต่อมา เรามาดูกันครับ ว่าแต่ละเงื่อนไขที่บ่งบอกว่า ระบบนี้เป็น Enterprise Application ครับ
- Involve persistent data - ข้อมูลต้องถูกจัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็น Database หรือ File
- A lot of data - อันนี้ แน่นอนครับ ถ้าในยุคนี้ หมายถึง Big Data ครับ ที่ระบบต้องจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีหลาย V โดยผมแบ่งตามปีที่ผมได้ยินคำแหล่งนี้นะครับ
- 2011 - 3V
- Volume - ปริมาณของข้อมูล
- Velocity - ชนิดของข้อมูลที่มากมาย หลากหลาย
- Variety - ความเร็วที่เกิดขึ้นของข้อมูล
- 2014-2015 -5V โดยส่วนที่เพิ่มจาก 3V มี ดังนี้
- Variability - ความไม่เข้ากัน / ความสอดคล้องของข้อมูล เช่น คำนำหน้า นาย ชื่อ สมชาย แต่ดันมีข้อมูลการฝากครรภ์ !!! (อันนี้ผมเคยเจอจริงๆนะ)
- Veracity - ข้อมูลที่มี มีคุณภาพหรือป่าว จากประสบการณ์ส่วนตัว งานที่ทำเกี่ยวกับ Data Cost ที่เสียไปมากที่สุดน่าจะเกือบ 90% เลยนะ คือ ทำให้ข้อมูลดิบ มันมีคุณภาพ พร้อมเอาไปใช้สำหรับงานด้าน Data Science ต่อไป
- และ 2018 - มาอีกหลายๆ V เลย
- Visualization - อันนี้เดี๋ยวไปพูดในส่วน A lot of UI screens
- Viscosity - ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล จากแหล่งข้อมูลหลากหลายแหล่ง
- Virality - เนื่องจากข้อมูลมันเยอะ แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ดีมากๆ แต่ Network ไม่ดี มันทำให้การประมวลผลช้าได้ จึงได้มีเรื่อง Virality เข้ามาวัด ว่ามันเกิดคอขวดไหม
- Value - ไอ้ที่เก็บอยู่ เก็บขยะ หรือเก็บเพชรเม็ดงาม !!!
- 2011 - 3V
- Access data concurrently - ข้อมูลถูกใช้งานร่วมกัน หลายฝ่าย หลายคน ใช้กันเยอะมากๆ เขน่ ระบบ Core Banking ที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามายุ่งกับข้อมูล
- A lot of UI screens - มีหน้าจอเยอะ เยอะแบบเหมาะสมนะครับ ถ้าเยอะแบบที่ไม่จำเป็น อันนี้ไม่นับนะ
- ถ้าเป็นเรื่องของ Big Data สิ่งที่ต้องมาเกี่ยวข้องด้วย คือ Visualization
- Integrate with other enterprise applications - มีการเชื่อมโยงกับระบบ enterprise อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Core Banking เชื่อมกับระบบจัดการสินเชื่อ เป็นต้น
- Complex business rules and keep changing
- business rules - กฏของธุรกิจ เอาง่ายๆ เช่น
- นิสิตไม่สามารถลงทะเบียนได้มากที่สุด 22 หน่วยกิต ต่อ 1 ภาคการเรียน
- ผู้ลงทุนไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายกองทุน ที่ระดับคงความเสี่ยงเกี่ยวกว่าที่ได้ทำแบบสำรวจไว้ เป็นต้น
- keep changing - ฺbusiness rules มีการเปลี่ยนแปลงไวมาก ** ตรงนี้ั อาจจะเป็นที่ทีม Develop มักเจอกัน Requirement Change !!!! **
- business rules - กฏของธุรกิจ เอาง่ายๆ เช่น
Reference
Discover more from naiwaen@DebuggingSoft
Subscribe to get the latest posts sent to your email.