ชีวิตโควิคเดือนพฤษภาคม

ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากมาเกือบๆ 2 เดือนแล้วนะครับ มาจดดีกว่าว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ค่าอาหารผมเฉยๆนะครับ เพราะ ส่วนใหญ่ที่ราคามันแพง เพราะค่าขนส่งจากพวก Grab / Lineman มากกว่า ค่าไฟแพงตามปกติ เพราะ อยู่บ้าน Work From Home กัน ค่าน้ำเท่าเดิม ค่าตัดผมแพงมากครับ ผมเพิ่งไปตัดตอนเดือนพฤษภาคม ปกติ 100 บาทร้านข้างทาง ร้านในห้าง 300 บาท นี่ร้านโทรมๆข้างพาต้า 500 บาทครับ มีพบปะ ก็มีลาจาก ผมเพิ่งทราบข่าวเหมือนกันว่า เพื่อนที่เรียนด้วยกันตอนปริญญาตรีเสียไปอีกคนด้วยโรคมะเร็งแล้วครับอายุ 30 ปีเอง เสี่ยใจด้วยนะมิ้ว ชาติหน้ามาเป็นเพื่อกันอีกนะ T__T ตั้งแต่เรียนจบมาเพื่อนในรุ่นเสียไปแล้ว 3 ท่าน โรคภัยไข้เจ็บมันมาแบบไม่รู้ตัวเลยจริงๆ คนไทยไม่ทิ้งกัน เจอแม่ลูกน่าสงสารมาครับ เหมือนเข้ามาตามหาสามี และมาหางานทำใน กทม ช่วงโควิค-19 แล้วเด็กก็ตัวแดงมากๆครับ ผมเลยให้เงินไป 1,500 บาท เป็นค่านมค่าเดินทาง และแจ้งตำรวจให้จัดการเรื่องต่อไปครับ การเงิน พอมีเวลามาขึ้นมาดูยอดเงินในช่วงนี้ Net Profit ของแต่ละปีแล้ว ตั้งแต่เรียนมาเงินที่ได้เก็บลดลงครับ โชคดีที่มีทำประกันคุณแม่ไว้ พอแก่ป่วยเลยไม่ต้องเสียเงินมากมายครับ

ไทยชนะ-ลองใช้งานจริง และความเห็นส่วนตัว

ไทยชนะ เป็น Location base Platform ที่ช่วยให้ประชาชน ร้านค้า มีข้อมูล Tracking และติดตามการเข้าออกของสถานที่ แต่ละแบบ เพื่อเก็บข้อมูลแจ้งเตือนหากเข้าข่ายที่ต้องกักตัวจากโรคระบาดครับ หลังจากผมลองใช้งานมา กับดูอะไรนิดๆหน่อยๆมีความเห็น ดังนี้ครับ ใช้งานยาก กับการให้คนต้องมาทยอย Checkin ครับ จริงๆแล้ว ถ้าคนส่วนใหญ่มี Smart Device แล้ว น่าจะขอ track location และกำหนด policy ชัดเจนเลย ถ้าเข้ามาแล้ว ดันเกิดปัญหาจริง อาจจะทำ push notifications ขอรายละเอียดการเดินในสถานที่นั้นๆมาวิเคราะห์ครับ รู้ว่าไปห้างเซ็นทรัล แต่จะขอการเดินทางข้างในตอนที่มีปัญหาขึ้นครับ เบอร์โทร ผมใส่เบอร์ใครก็ได้นะ ไม่มีการยืนยันตัวตนเลย ควรมีนะ เพราะ สมัยนี้จะมีเบอร์มือถือได้ต้องลงทะเบียนแล้วครับ ข้อมูลเข้ารหัสสักนิดครับ เปิดโล่งมากไป ยังมีคนใช้มือถือรุ่นเก่าอยู่ เคสนี้จะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน SMS ได้นะ จะ *1234# อะไรก็ได้ ข้อมูลหลังจัดเก็บทำ policy ข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว น่าจะทำ Open Data มันมีมุมมองได้หลายรูปแบบเลยที่จะประโยชน์ต้องการศึกษา และหา Facts ต่างๆ

[IBM] TSA และ TSM มันคือ อะไร

บันทึกไว้ก่อนครับ เนื่องจากได้ข้ามงานดูจากสายซอฟต์แวร์เพียวๆ ขยับมาทางด้านโซลูชัน มีทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ครับ Tivoli System Automation (Tivoli SA-MP) เป็นซอฟต์แวร์ของ IBM เปลี่ยนชื่อจาก TSM ครับ โดยซอฟต์แวร์นี้รองรับการทำ Failover หรือการ Down บางส่วนของระบบเพื่อทำการซ่อมบำรุง (Maintenance) ตัวอย่างที่ใช้จริง เช่น การทำให้ฐานข้อมูล DB2 ใช้ Feature HA ทำการ Auto Take เช่น ในกรณีที่มีเครื่องที่ DC 2 เครื่อง ถ้าเครื่อง DC-A เกิดปัญหาขึ้น อาจจะจาก Hardware ตัวระบบก็จะย้าย Database ที่ Active จากเครื่อง DC-A ไปยัง DC-B แทน Tivoli Storage Manager (TSM) ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น IBM Spectrum Protect (อ้างอิง TSM Rebranding) เป็นซอฟต์แวร์ของ IBM ที่ทำหน้าที่ในการ ฺBackup ข้อมูลครับ โดยซอฟต์แวร์ของคู่แข่งจะมีตัว NetBackup / Veeam และ ComVault เป็นต้นครับ Reference ve.user

Putty Save Session Log

หลายคนที่ใช้ Putty อาจจะไม่รู้ว่า เจ้าตัว Putty ที่เราใช้ SSH เข้าไปจัดการกับ Server เนี่ย จริงๆ มันสามารถบันทึกการทำงานได้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ เข้า Putty กำหนด IP:Port ที่ต้องการ เข้าไปที่ Session > Logging เลือกรูปแบบ Log ที่ต้องการได้เลยครับ ปกติผมเลือก All Session Output เอาจากหน้าจอดำๆออกมาครับ (Option อื่นๆที่เกี่ยวกับ Packets ผมไม่เคยใช้นะ 555) กำหนดชื่อไฟล์สำหรับเก็บ Log ครับ โดยสามารถกำหนดรูปแบบได้ &H : IP หรือ ชื่อ Host &P : Port ที่ใช้ &Y : ปี &M : เดือน &D : วัน ตัวอย่าง เช่น <Path>\putty&H_&P_&Y&M&D.log ตัวอย่างไฟล์ที่ได้ครับ กำหนดค่าเสร็จแล้ว อย่าลืมกด Save Config ด้วยนะครับ ตัว UI ของ Putty ออกจะใช้ยากนิดนึง

[UBUNTU] ping ไปหา Windows โดยใช้ชื่อเครื่อง

บทความนี้เป็นบันทึกช่วง Work From Home ที่เขียนดองไว้ช่วงเดือนมีนาคมนะครับ แต่กำหนด Publish ไว้เดือนพฤษภาคม โดยหวังว่าสถานการณ์เคอร์ฟิวจะไม่ยาวถึงนะ มาเข้าเรื่องดีกว่า ใช้ Ubuntu อยู่อยาก ping ไปหา Windows โดยใช้ชื่อเครื่อง ต้องมีขั้นตอนอย่างไร มาลองทำได้เลยครับ ติดตั้ง Package winbind ด้วยคำสั่ง แก้ไขไฟล์ ในที่นี้ผมใช้ Toolsชื่อ nano และใช้สิทธิ root ด้วยคำสั่ง แก้ไขบรรทัด hosts จาก (หรือ อาจจะเป็นค่าอื่นๆที่คล้ายๆ กันลองปรับตามดู) ไปเป็น จากนั้น Save แล้วทดสอบ ping ไปเครื่อง Windows ได้เลยครับ

[PM] Bus Factor – อย่าให้รู้นะว่าเป็นความหวังของหมู่บ้าน

หลายโครงการเวลาเกิดปัญหา หรือทีงสนอะไรที่ยาก และท้าท้าย มันมักจะฮีโร่เข้ามาเป็นควาทหวังของหมู่บ้าน ความหวังของทีมในการแก้ปัญหา แต่ถ้าทุกๆโครงการดันมีฮีโร่เป็นคนเดียวกันหมดหละ !!!! มันเหมือนอย่างหนัง หรือ การตูนทั่วไปแหละพอมีฮีโร่เพียง 1 คนทุกปัญหาย่อมเกิดขึ้น หากฮีโร่คนนั้นไม่สามารถมาทำงานได้ เห็นไหมว่าเราต้องทีม ทีมอย่าง Avenger เข้ามาร่วมจัดการเหล่าร้าย ใช่ครับ คนเดียวหัวหาย เป็นทีมดีกว่าครับ จากความหวังหมู่บ้านทำให้ทีมมีจุดแข็ง ก็จะกลายเป็นว่าคนนั้นเป็นจุดศูนย์รวมแห่งความชิบหาย (Single Point of Failure) ด้วยเช่นกันครับ กลับมาที่ Bus Factor หรืออีกชื่อว่า Truck Factor กันดีกว่า โดยตัว Bus Factor มัน คือ ตัวเลขที่เอาไว้ประเมินความเสี่ยงของโครงการครับ ถ้าฮีโร่คนนั้นหายไป จะมีใครมารับช่วงสายต่องานได้หรือไม่ครับ ทีมสามารถเสียคนได้เท่าไหร่ตัวโครงการถึงหยุดชะงักไปต่อไม่ได้ครับ มันเหมือนระเบิดเวลาดีๆแหละครับ ถ้า Bus Factor ยิ่งน้อยยิ่งเสี่ยงครับ ตัวอย่าง เช่น เรามีทีมทำ Start Up ด้าน FinTech โดยมีทีมทั้งหมด 5 คน แล้วเรากำหนด Bus Factor = 2 นั่นแสดงว่าถ้าเสียลูกทีมไป 2 คน ตัว Start Up ที่ทำอยู่ก็จะมีปัญหา ไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ครับ (เคสนี้ถ้าจะให้ดี Bus Factor ควรเป็น 5 ครับ นั่นแสดงว่าทุกคนสามารถทำงานแทนกันได้หมดเลย) แต่เนื่องจากหลาย Project ประกอบด้วยหลายหน่วยงานครับ บางทีอาจจะต้องประเมิน Bus Factor แยกตามหน่วยครับ เช่น BA / DEV / QA เป็นต้นครับ แล้วจะป้องกันความเสี่ยงอย่างไร Cross Functional Team – จัดให้คนในทีมสามารถทำงานแทนกันได้ครับ เช่น DEV-QA,…

บันทึกการเดินทางช่วงโควิค-19

หลังจากมาตรการปิดเมือง รักษาระยะห่าง เพื่อลดเชื้อ แต่ทว่าบางคนไม่อยู่บ้านแบบ 100% ได้ ทำให้มีความซับซ้อนของการเดินทางเพิ่มขึ้นตามมาด้วย อาทิ เช่น เดินทางหลายต่อมากขึ้น จากเดิมรถเมล์สายเดียวถึงที่ทำงานแล้ว แต่ตอนนี้ค้องต่อรถเอา ถ้าไม่มีรถเมล์ผ่าน TAXI เป็นตัวเลือกนึง แต่รถมีน้อยเท่าที่ถามคนขับ บางคนถ้าไม่ติดอะไรจริงๆอยู่บ้านคุ้มกว่า หรือ เอารถมาส่งพัสดุแทนคนครับ Social Distancing ไม่มีอยู่จริง รถเมล์คนก็แน่นครับ แม้ว่าจะเว้นที่นั่งไว้ แต่คนยืนกันเต็มครับ

30 แล้วเหรอ 7 ปี กับการใช้ชีวิตในฐานะผู้ใหญ่

30 ปีแล้วนะปิงเอ้ยยยย มันมีอะไรผ่านไปบ้างนะที่สำเร็จ #มีเงินเก็บเป็นก้อน มีแล้ว แต่ทุลักทุเลมากครับ เจอปัญหารุมเร้าเยอะ ทั้งสุขภาพคุณเม่ การเรียน ป โท ที่ยังไม่จบสักที ผ่านมา 7 ปี ส่วนตัวนะ ยังเชื่อว่าการลงทุนที่ดีที่สุด ในสไตล์คนที่ไม่มีเวลามากมายครับ ไม่ใช่ หุ้น กองทุนหุ้น สิ่งที่ใช้ กองทุนตราสารหนี้ / เงินฝากประจำ / สลากออมสินแทน / ออมทอง ตอนนี้ไม่มีหนี้ – สิ่งที่ดีอย่างนึง ไม่มีบัตรเครดิต เรามันคนไม่มีเครดิต จริงๆที่ไม่อยากมีบัตรเครดิต เพราะ มีเรื่องที่ไม่ดี เคยโดนดูถูก โดยขว้างบัตรเครดิตใส่หน้ามาครั้งนึง #เรียนจบ ป โท จะร้องไห้แล้ววววววว ถึงจุดที่ต้องแก้เล่มแล้ว หวังว่าหมดโควิต-19 จะได้สอบ หรือสอบแบบ Online ได้นะ #มีแฟน !!! ยังไม่มีจอบอ แต่การที่ทำงานแล้วมีลูกน้องเป็นผู้หญิง อันนี้ก็ทำให้เข้าใจผู้หญิงมากขึ้นมักนะ 5555 หวังว่าคนที่ชอบ จะยังไม่แต่งงานไปนะ จะได้ลองคุยจริงๆกับเธอ หลังจากที่พยายามแล้วล้มเหลว T___T #ความรู้ด้านเทคโนโลยี แน่นระดับนึง แต่คงเน้น Back-End เป็นหลักและ เป้าหมายใหม่ในอีก 5 ปีแล้วกัน มีอลังหาริมทรัพย์เป็นของตัวเอง พวกบ้าน คอนโด มีรถยนต์ ในใจอยากได้รถไฟฟ้า ที่พักทางใจ ลูกๆ อยากทำเลสิคตา ชีวิตที่มีแว่นตามันไม่สะดวกเลย

Work From Home มา 2 อาทิตย์ เป็นอย่างไรบ้างนะ

– การทำงาน วางแผนมากขึ้นกว่าเดิม เหนื่อยกว่าเดิมนะ ต้องมีการติดตามงานบ่อยมากกว่าเดิม Issue Tracking อย่าง Redmine / GitLab Board เป็นตัวกลางในการตามงาน และสื่อสารที่ดีมากๆ Line Notify ที่ทำเล่นๆ และคนส่วนใหญ่น่าจะรำคาญกับมัน มันใช้งานได้มีมากเลยในช่วงนี้ ถ้าในสาย Dev ต้องมีการเตรียมตัวในหลายๆเรื่อง อาทิ เช่น การเตรียม Source Code ถ้าไปเอา Code ใหม่หมดจาก VPN อันนี้ช้ามากครับ และอาจจะทำให้ VPN ล่มได้เลย เครื่อง PC ที่บริษัท – ต้องระวังเรื่องความร้อนมากๆครับ เทคนิคที่คิดว่ามันโคตรหลงยุคอย่าง Wake From Lan ได้ถูกนำมาใช้ครับ หรือการตั้งเวลาเปิดปิดเครื่องครับ – ประชุม 40 นาทีของ Zoom – Free Session เป็นเวลาการประชุมที่ดีครับ พอไม่มีระบบจัดการประชุม ทุกคนสามารถสร้างห้องประชุมได้เอง เลยทำให้การประขุมมันเยอะไป เยอะจนต้องเอางานมาทำนอกเวลาแทน แต่ก็แก้ปัญหาโดยการใช้ระบบมาครอบ Zoom อีกที อย่างน้อยจะได้รู้ว่าใครสะดวกชวงไหนบ้าง ไม่มีระบบใดที่ใช้งานได้ 100% (No Sliver Bullet) ของผมใช้แม่งทุกระบบเลยครับ Zoom เป็นหลัก Skype – เป็นตัวสำรอง และไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา MS Team Line Call – ใช้สำหรับงานที่เน้นคุย ไม่ต้อง Share จอ ควรวางแผนที่ดีก่อนประชุมนะ ผมได้มีเขียน Blog: คำแนะนำสำหรับการประชุมในช่วง Work From Home ครับ – Work From Home != พร้อมทำงานตลอดเวลา บางคนเข้าใจว่าต้องเตรียมพร้อมการทำงานเกือบตลอดเวลา แย่นะ…

[WIN10] เอา Notebook เก่าๆมาทำจอแยก

สำหรับ Windows 10 และการทำงานช่วงนี้ที่เป็นแบบ Work From Home หากคนอาจะต้องหาจอแยก อาจจะเอาไว้ดู Code กับเอกสารไปพร้อมๆกัน ถ้ายังไม่อยากเสียเงินซื้อจอใหม่ และยังมี Notebook เก่าที่ติดตั้ง Windows 10 สามารถทดสอบได้เลย ขั้นตอนการเปิดใช้ Wireless Display ที่เครื่องสอง (ต้องการทำเป็น Wireless Dispaly) เลือก Start > Settings > Projecting to this PC จากนั้นการกำหนดค่าตามรูปเลยครับ กำหนด Option ที่จำเป็น ดังนี้ Some Windows and Android devices can project to this PC when you say it’s OK – ยอมให้เอาภาพมาขึ้นที่จอไหม เลือก Avaliable Everywhere (ยอมให้ยิงภาพ) Ask to project to this PC – ให้ถามก่อนเชื่อมต่อไหม เลือก First Time Only (เฉพาะครั้งแรก) Require PIN for pairing – ใช้ PIN เพื่อกำหนดความปลอดภัยไหม เลือก First Time (เฉพาะครั้งแรก) This PC can be discovered for projection only when it’s plugged into a power source…