[CR] อัชชา Indian Cuisine @ Food Republic, ICON SIAM

วันนี้แอบเซ็งตรงที่ MK Live ไม่มีเมนูทำสำเร็จแบบสุกี้เป็นจานๆขายครับเลยงอแงมาที่ Food Republic เพื่อลองหาร้านสุกี้ครับ ปรากฏว่ามันไม่มีอีก 555 (จริงๆมันมีนะ แต่ร้านปิด น่าจะเพราะพิษโควิค-19) และท้ายที่สุดแล้วก็มาลงเอยที่อาหารอินเดียครับ เพราะรีวิวจากหลายๆท่าน คราวนี้มาเดินร้านอาหารอินเดีย แถมมีโปรลดราคาสำหรับช่วงเดือนกรกฏาคมด้วยครับ เห็นโปรโมชั่นแล้ว ลองสั่งมาอย่างละ 1 เลยครับ อิอิค่าเสียหายทั้งหมด 110 บาทครับ ผัดหมี่จีนสไตล์อินเดีย – สีสันสวยงามมาครับ กลิ่นหอมด้วยครับ ชอบเส้นนะ มันลงตัวทั้งจีน และอินเดียครับ แป้งทอดไส้ผัก – แป้งกรอบมาก และไส้รสเข้มครับ ส่วนเครื่องเคียงเ็นผักหลายชนิดครับ เหมือนผักดองเลย ซอสปรุงใส่ – ส่วนตัวผมชอบอันล่างสุด (ที่ข้างบะหมี่ครับ) มี 4 อย่างที่ผสมลองชิมครับ อีกอันน่าจะเป็นกระเทียมอันนี้ขอบายครับ ความเห็นส่วนตัว ชอบผัดหมี่จีนนะ มันไม่เข้มไป กินเปล่าๆได้เลย ไม่ต้องปรุงรส เครื่องเทศซึมเข้าเส้นด้วยครับ แป้งทอดไส้ผัก – ผมไม่ค่อยชอบเลยนะ ส่วนตัวนึกถึงภาพพวกชนมจีนๆ มันจะใส่ผักพวกกุ้ยช่ายอะไรแนวๆนี้ อันนี้ใส่แต่มัน + เครื่องแกงกระหรี่ซะเยอะเลยครับ ส่วนเครื่องเคียงรสชาติไม่ถูกปากผมเลยครับ 2 เมนูนี้ไม่มีเนื้อสัตว์ครับ มังสวิรัติ เมนูอื่นๆมีไหม ลองมาดูได้เลยครับ แต่ราคาแอบแรงนะในมุมของผม แต่ดูเครื่องเคียงของเยอะนะครับ มีกับหลายอย่าง แต่ถ้ามากินเตรียมใจวิ่งชดใช้กรรมไปอีกหลายๆวันเลยครับ

[CUSE] เอกสารหลังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

หลังจากสอบวิทยานิพนธ์ไปเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 โดยใช้เวลาไปประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาทีนะครับ โดยผลการสอบได้ในระดับ ดี ครับ โดยปกติผลการสอบป้องกันมี 4 แบบครับ ได้แก่ ไม่ผ่าน – สอบตกครับ แต่ปกติอาจารย์ให้สอบใหม่อีกรอบ โดยก่อนครับเพื่อดูพัฒนาการ การเตรียมตัวจากประเด็นที่ได้จากการสอบรอบแรกครับ ผ่าน – สอบผ่าน แต่มีการแก้ไขเล่ม และโปรแกรม เยอะพอสมควรครับ ดี – สอบผ่าน แต่มีการแก้ไขเล่มเล็กน้อยครับ ดีมาก – สอบผ่าน มีการแก้ไขเล็กน้อย และมีการนำเสนอผลงานที่งานประชุมวิชาการตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปครับ (เขียน Paper 2 Paper ขึ้นไปครับ) จากจุดนี้ผมมีงานอยู่ 2 ส่วนครับ ได้แก่ ปรับแก้ไขเล่มวิทยานิพนธ์ และจัดทำรายละเอียดการแก้ไข และจัดส่งทางอีเมลให้คณะกรรมการทวนสอบก่อน โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ครับ หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารให้คณะกรรมการเซ็นครับ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมเดี๋ยวอธิบายในหัวข้อถัดไปครับ (ตามธรรมเนียม ควรให้คณะกรรมการรีวิวเล่มให้เรียบร้อยก่อนครับ แต่ถ้ามีการคุยกันนอกรอบแล้วก็สามารถส่งเอกสารไปพร้อมๆกันได้ครับ NOTE: ถามเจ้าหน้าที่ของคณะด้วยว่า Flow ตอนล่าสุดยังเป็นแบบ Offline หรือ Online นะ เพราะ Blog นี้เขียนตอนเดือน 7 ปี 2020 เอกสารหลังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เอกสารส่งต้องส่งหลังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ผมขออ้างอิงจากประกาศของทางบัณทิตวิทยาลัยสำหรับช่วงโควิต-19 ครับ และเอกสารของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ครับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ [คณะ] เอกสาร บ4 – เป็นเอกสารทีให้ผู้สอบบันทึกผลการสอบครับ และลงชื่อเพื่อยืนยีนครับ จากนั้นส่งให้เจ้าหน้าที่ของภาควิชา เพื่อให้หัวหน้าภาคลงนามต่อไปครับ [บัณฑิต] หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ – ปกติต้องเขียนแบบลงกระดาษครับ และเป็นเอกสารที่ใช้เวลาในการรวบรวมลายเซ็นนานที่สุดครับ เพราะต้องส่งให้กรรมการสอบที่ละท่านเซ็นต์จนครบ จากนั้นส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของภาควิชา เพื่อส่งให้คณบดีลงนามต่อไปครับ [บัณฑิต] ใบนำส่งวิทยานิพนธ์ – อันนี้เป็นเอกสารที่ต้อง…

[CUSE] สอบป้องกันวิทยานิพนธ์

การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ของผมในปีนี้จะเป็นเคสพิเศษ (New Normal) ครับ โดยเป็นการสอบในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ครับ โดยสอบไปเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 ครับ ผมอาจจะเผยแพร่ Blog ในช่วงที่เกี่ยวกับการสอบช้านิดนึงนะครับ รอสรุปพวกเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยก่อนครับผม ก่อนจะสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้ ร่างวิทยานิพนธ์ต้องเสร็จเรียบร้อย เครื่องมือ หรืออื่นๆที่ได้จากงาน ถูกพัฒนาเรียบร้อยตามขอบเขตที่กำหนดไว้ครับ อย่างของผมเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อสร้างมิวแตนท์ของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นตามหลักการทดสอบวีคมิวเทชัน โดยเครื่องมือมีการตรวจสอบผลการทำงานกับ BPMN Engine (Camunda) ได้อย่างอัตโนมัติครับ พบอาจารย์ที่ปรึกษาบ่อยๆครับ มองให้มันเหมือน Agile ก็ได้ครับ ที่ค่อยทำที่ละรอบ ให้มีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆครับ อย่างสุดท้ายอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้สอบได้ครับ เตรียมเอกสารให้พร้อม โดยดูจาก Blog [CUSE] เตรียมเอกสารก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และตรวจสอบคู่มือของคณะคู่กันไปด้วย เตรียมตัวก่อนสอบ เอกสาร/แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในการสอบครับ อันนี้ผมขอเขียนเป็นอีก Blog แยกดีกว่าครับ จัดเนื่อหาการนำเสนอ สำหรับผมมันยากมากครับ ปกติงานของผมเป็นงานหลังบ้าน ไม่ค่อยได้พบปะผู้คนเท่าไหร่ครับ ทำให้กลัวการนำเสนอมาก ว่าจะพูดเป็นไฟสนก้นไหม จัดเวลาให้ดีครับ เช่น นำเสนอ + Demo 50 นาทีเป็นต้อง ที่เหลือให้คณะกรรมการสอบถามครับ (ของผมแย่กว่านั้น นำเสนอ + Demo 62 นาทีครับ กลัวจะพูดไม่รู้เรื่อง เกร็งแล้วพูดช้าๆ มีหลุดบ้างด้วย T__T) Practice Makes Perfect – ซ้อม แล้วให้มีคนแนะนำติชม อย่างผมลองซ้อมกับ Zoom ก่อนครับ จะได้รู้ข้อจำกัดครับ หรือปรับเวลาครับ เพราะรอบแรกที่ผมซ่อมเอง นำเสนอ + Demo เกือบๆ 85 นาทีครับ ปัจจัยอื่นๆ เช่น Windows Update ปิดได้ก็ปิดมันครับ หรือปัญหา Network หาทางสำรองไว้ ของผมเตรียมมือถือไว้เป็นเนตสำรองครับ ถ้าวันสอบ Network…

[CUSE] เตรียมเอกสารก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

ก่อนสอบได้ต้องมีการเตรียมเอกสารเยอะพอสมควรครับ โดยเอกสาร ถ้าของคณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถ Download ได้จาก เอกสารเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์) ก่อนเตรียมเอกสารอีเมลแจ้งกรรมการทุกท่านว่าจะมีการสอบ (ปกติ 2 สัปดาห์ก่อนสอบครับ) – ใคร สอบหัวข้อ อะไร และมีการจัดสอบที่ไหน เตรียมเอกสาร ลำดับแรก : ต้องเซ็นตามลำดับ จากนั้นส่งที่ฝากวิชา เพื่อเดินเรื่องสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ แบบขอนัดคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ – กรรมการทุกท่าน แบบ บ.2 (บันทึกข้อความให้คณะฯ ออกหนังสือเชิญคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์) – อาจารย์ที่ปรึกษา และประธานสอบ ลำดับสอง : ของกรรมการสอบ แต่ละท่าน แบบ บ.3 (แบบประเมินวิทยานิพนธ์ก่อนการสอบวิทยานิพนธ์) ร่างวิทยานิพนธ์ของเรา – ผมทำใน iThesis มาตั้งแต่แรกเลยครับ ตอนสอบอย่างลืมเมล์สอบถามกรรมการทุกท่านด้วยนะครับ ว่าต้องการรับเอกสารแบบ Hard Copy หรือ ไม่ ถ้าต้องการต้องมีการขอที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร และมีการแจ้งเลข Tracking ภายหลังด้วยครับ ลำดับสาม : เพิ่มเติมสำหรับกรรมการภายนอก นอกจากแบบ บ.3 กับร่างวิทยานิพนธ์แล้ว หนังสือเชิญกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ แบบรับเอกสารสำหรับกรรมการสอบวิทยานิพนธ์จากภายนอกภาควิชา แบบรับเอกสารสำหรับกรรมการสอบวิทยานิพนธ์จากภายนอกภาควิชา (สำเนา) อันนี้ เราต้องเก็บส่งให้ที่ภาควิชา เมื่อจัดการเอกสารที่เกี่ยวกับก่อนสอบครบเรียบร้อยแล้ว ต้องเมล์แจ้งเพื่อยืนยันการสอบให้คณะกรรมการสอบอีกครั้ง ปกติส่ง 1 สัปดาห์ก่อนสอบครับ สำหรับ Blog ถัดไปใน Series นี้ [CUSE] สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ [CUSE] เอกสารหลังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

[CUSE] iThesis Word Add-Ins ไม่สามารถ Save to Cloud ได้ เจอข้อความแจ้ง We have found some problems….

จริงๆ Message นี้ ผมเคยเจอเมื่อช่วงหลังสอบ น่าจะตอนปลายเดือนก่อนครับ มาสรุปปัญหานี้ดีกว่าครับ ปัญหา สำหรับตัว Warning Message ฉบับเต็มๆ ตามด้านล่างเลยครับ We have found some problems with generating template so your data may be incomplete. Please review your data. if you find data incomplete , please re-generate. แนวทางการแก้ไข Idea สำหรับการปรับปรุงระบบ

[CUSE] iThesis สถานะแต่ละอย่างมัน คือ อะไรนะ

หลังจากรอลุ้นอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหรจะจบนะ ผมก็สงสัยว่าแต่ละสถานะ (Status) ของระบบ iThesis มีความหมายอย่างไรครับ สำหรับคนที่ทำวิทยานิพนธ์ (พวกแผน ก นั่นเอง) ครับ โดยมีสถานะ และจุดที่สนใจ ขีดแดง ดังนี้ ขีดส้ม : กรอกข้อมูลในส่วนของ Report Data เรียบร้อย จนได้ใบนำส่งวิทยานิพนธ์เรียยร้อยแล้ว P (Proposal) : บันทึกโครงร่าง โดยที่อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตอนุมัติแล้ว D (Draft Version) : ร่างวิทยานิพนธ์ ใช้สำหรับเตรียมสอบป้องกันครับ อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติ C (Complete Version) : เล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์หลังสอบป้องกันเรียบร้อย และ อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติ B (Barcode หรือ Book) : ส่งเล่มที่บัณฑิตวิทยาลัยเรียบร้อยแล้วครับ สำหรับพวกผมเป็นการส่งออนไลน์แทนการส่งเล่มจริงครับ เนื่องจาก COVID-19 ครับ สำหรับแผน ข สถานะจะลดลงไปเหลือ แค่ 4 อันครับ ได้แก่ ขีดแดง, P (Proposal), C (Complete Version) และ B (Barcode หรือ Book) ครับ กว่าจะผ่านแต่ละสถานะมาได้มันช่างยาวนานครับ สู้ๆนะครับสำหรับคนที่เรียนไปทำงานไปครับผม ^___^

Jenkins มาจัดการกับ Build Log เพื่อป้องกันไม่ให้ Disk เต็มครับ

jenkins

หลังจากพบว่า ฺBuild Server พื้นที่ Disk เต็มครับ โดยหลังจากลองใช้โปรแกรม TreeSize Free เข้ามาช่วงค้นหาว่า Folder ไหนที่มีขนาดใหญ่เกินไปจากปกติ จนพบสาเหตุว่า หนึ่งในสาเหตุที่พื้นที่ Disk เต็มนั้น เกิดจาก Build Log ที่ไม่มีการทำกระบวนการ House Keeping (เอาง่ายๆ คือ การลบข้อมูลที่ไม่จำเป็น เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับใช้งานระบบเพียงพอครับ) มาดูกันใน Jenkins ดีกว่า ถ้าจะ Clear Log ของการ Build ทำอย่างไรครับ – กรณีที่สร้าง Task Build แบบ GUI สำหรับในกรณีนี้สามารถใช้ Plugin Discard Old Build เข้ามาช่วยได้ครับ โดยสามารถกำหนดได้ในส่วนของ Post Build Actions ครับ โดยค่าที่ควรกำหนดไว้ ได้แก่ Max # of builds to keep : จำนวน Log ที่ต้องการเก็บ Days to keep builds : จำนวนวันที่ต้องการเก็บ ส่วน Option อื่นๆ ถ้าถามผม ผมมองว่ามันยุ่งยากสำหรับการใช้งานจริงครับ จะมีประโยชน์จริงๆ ในส่วนของ Status to discard ครับ – กรณีที่เขียน Code เพื่อจัดการเรื่อง Build หรือง่ายๆว่า Pipeline สำหรับในกรณีนี้ ในตัว Pipeline สามารถใส่ options ของ buildDiscarder ส่วน logRotator ของ Pipeline ได้ครับ…

[CR] ราเมงซุปกระดูกหมู @ ทูฟาสราเมง มศว ประสานมิตร

สำหรับร้านทูฟาสราเมง มศว ประสานมิตร ผมไปเดินเล่นใน มศว ย้อนไวไปถึงช่วงเย็นแล้ว หิวอยากกินมาม่า แล้วเห็นร้านนี้พอดีครับ เลยตัดสินใจลองดูครับ สำหรับเมนูของร้านมี 5 เมนูครับ โชยุราเมง ราเมงซุปกระดูกหมู ราเมงต้มยำ มิโสะราเมง ชิโอะราเมง โดยมี 2 ขนาดครับ ได้แก่ ขนาด S และ M ครับ ขนาด S ได้เนื้อ 1 ชิ้น กับไข่ครึ่งใบ ขนาด M ได้เนื้อ 3-4 ชิ้น กับไข่ 1 ใบครับ และร้านมีท๊อปปิ่งให้ลองเติมได้นะครับ สำหรับบรรยากาศร้านช่วงเย็นสบายๆครับ ผมนั่งทานที่บาร์ของร้านเลยครับ โดยผมได้ลองสั่ง ราเมงซุปกระดูกหมู ขนาด M ครับ รสชาติกลมกล่อมใช้ได้เลยครับ แต่เส้นต้องรอออีกสักนิดให้มันเชตตัวกันก่อนครับ ค่าเสียหาย 129 บาทครับ โดยทางร้านรับเฉพาะบัตรเครดิต เดบิต และ PromptPay ครัมผม น่าจะช่วงโควิตเลยไม่รับเงินสด และเพื่อความโปร่งใสของทางร้านด้วยครับ

[UBUNTU] แก้ปัญหา Unknow Display ทำให้ไม่สามารถกำหนดความละเอียดของจอสูงๆได้

บางครั้งเครื่องที่ลง Windows มา แล้วย้ายมาค่าย Linux อย่าง Ubuntu มักจะเจอปัญหา Unknow Display ทำให้ไม่สามารถกำหนด Screen Resolution มากกว่า 1024 x 768 ได้ครับ เวลาใช้งานหน้าจอ มันจะดูใหญ่ พลิกครับ ยิ่งใช้ใช้จอแบบ 24 นิ้ว ++ ที่ความละเอียดสูงๆด้วยแล้ว น่าจะมีหงุดหงิดบ้างหละ ขั้นตอนการแก้ไข ตรวจสอบหน้าจอกันก่อนครับ ว่าของเดิมจริงๆ รองรับ Screen Resolution ที่อยากได้จริงๆ เช่น ของผมต้องการ Screen Resolution 1920 x 1080 โดยใช้ความถี่ 60 hertz ตรวจสอบกันก่อนครับ ว่าหน้าจอที่ใช้งานอยู่มี Screen Resolution ไหนให้เลือกบ้าง และแสดงผลผ่าน Output อะไร ด้วยคำสั่ง จากผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เราทราบถึง Screen Resolution + hertz ที่ใช้ และ แสดงผลผ่าน Output อะไร อย่าง เช่น เคสนี้สัญญาณภาพถูกส่งออก DP-1 ครับ เพิ่ม Screen Resolution 1920 x 1080 โดยใช้ความถี่ 60 hertz ด้วยคำสั่ง มาบอกให้ DP-1 รู้จักการ Mode การแสดงผล 1920 x 1080 ที่เพิ่งสร้างไปครับ ด้วยคำสั่ง ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ Display Setting ของ Ubuntu ครับ

ทำให้คนอื่นรู้ว่าต้อง Improve หรือเอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่อึดอัดดี

cover tree

อันนี้น่าจะเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับใครหลายๆ และตัวผมเองที่อารมณ์ร้อนได้ง่ายๆเลย คือ งานที่เราทำมันมีปัญหา แต่จะทำอย่างให้คนที่ก่อปัญหารู้ตัวว่าต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เอาที่ตัวผมเองก่อน ว่าคนอื่นเดวเป็นการพลาดพิง 555 ผมรู้ตัวนะว่าอารมณ์ร้อน และเดือดง่าย ถ้าเชื้อเพลิงสุมไว้พอตัว ถ้าปรับปรุงให้ดีขึ้น ของผมต้องขอบคุณหัวหน้า และน้องๆในทีมที่เป็นน้ำเย็นราดนะ แต่ก็คิดเหมือนกันนะ ถ้าเจอคนแบบผมจะทำอย่างไร คนอื่นรู้ว่าต้อง Improve เอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่อึดอัด