[POWERSHELL] มาตรวจว่า Windows ที่ใช้งานอยู่รองรับ TPM ด้วย Power Shell

powershell

หลังจากเปิดตัว Windows 11 ไป หลายคนอาจจะเจอปัญหาว่า นอกจาก Tool ที่มีคนทำมาแล้วเนี่ย หากเราจะลองเขียนเอาบ้าง เพื่อเอาไปประยุกต์ เช่น เก็บข้อมูลเครื่อง Client มาวิเคราะห์ว่ารองรับการใช้งาน TPM ไหม (หากสนใจ เรื่อง TPM + Secured Boot ผมมีสรุปไว้ใน Blog นี้ครับ) ตัว Power Shell เป็นทางออกนึงที่ช่วยให้เราสามารถเขียน Script เพิ่มเติมลงไปด้วยครับ Power Shell สำหรับตรวจสอบว่า Windows ที่ใช้งานอยู่รองรับ TPM คำสั่ง get-tpm เป็น คำสั่งสั้นๆ แต่ได้ใจความครับ กดปุ่ม WIN+Q จากนั้น Search คำว่า Power Shell และเลือก Run As Administrator ตามรปครับ ผลลัพธ์ กรณีที่เครื่องรองรับ TPM ผลลัพธ์ กรณัที่เครื่องไม่รองรับ TPM สำหรับหลัง Run คำสั่ง get-tpm แล้วพบว่าไม่รองรับได้ค่าเป็น false อย่างเพิ่งตกใจไปครับ ต้องไปตรวจสอบก่อน ตามขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้ เปิด TPM ที่ BIOS แล้ว หรือยัง โดย CPU Intel ให้หา Keyword PTT AMD ให้หา Keyword PSP-fTPM ลอง Driver สำหรับ Module TPM สำเร็จ และต้องขึ้นมาใน Device Manager ครับ Related Content [WIN11] ทำไม…

[TPM] เปิดใช้งาน TPM 2.0 บน Notebook Dell Inspiron 5570

สำหรับ Blog เป็นบันทึกการแก้ปัญหาของผมครับ หลังจากได้ทดสอบ PC Health Check ปรากฏว่าไม่มี TPM 2.0 ทำให้ไม่สามารถติดตั้ง Windows 11 ได้ครับ ตรวจสอบว่าไม่มี TPM 2.0 แบบที่ Tools แจ้งไหม ? ตรวจสอบผ่าน Power Shell ก่อนครับ ว่าพร้อมใข้งาน TPM หรือ ไม่ด้วยคำสั่ง เมื่อกด WIN+R แล้วเรียก tpm.msc ระบบไม่พบ tpm เหมือนกันครับ เตรียมตัวก่อนเปิด TPM 2.0 Update BIOS ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เป็นเวอร์ชั่น 1.4.1 (ตอน 2021/06) เปิด TPM 2.0 จาก BIOS ของ DELL เปิด Notebook ของเรากับ กด F2 เพื่อเข้า BIOS หรือ F12 เพื่อเข้า BOOT OPTION โดยผมขอกด F12 นะครับ มีส่วนสรุปที่ชัดเจนดีครับ จากเมนู BOOT OPTION (กด F12 หมายเลข 1) ตรงนี้มีส่วนสรุปชัดเจนครับ ตามหมายเลข 2 Boot Mode = UEFI (ผ่าน) Secure Boot = ON (ผ่าน) PTT = OFF (อันนี้ คือ TPM 2.0 ตรงนี้ถูกปิดอยู่ครับ) หลังจากดูสรุปเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าเมนู BIOS…

[WINDOWS] ทำไม PC Health Check บอกว่าลง Windows 11 ไม่ได้ !!! (ติด TPM/Secure Boot)

หลังจากเปิดตัว Windows 11 ไปแล้ว มี Feature มากมายทั้งปรับปรุง UI และปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่อง ทำให้เล่มเกมได้ดีขึ้น และปรับให้รองรับ Tablet ไปแล้ว ทาง Microsoft เองได้ออกเครื่องมือ PC Health Check มาช่วย เพื่อตรวจสอบว่า เครื่องคอมของเรามีสิทธิใช้ Windows 11 หรือไม่ครับ หลังจากหลายๆคนลอง Run มาแล้ว ปรากฏว่าไม่ผ่านซะงั้น เรามาดูความต้องการขั้นต่ำกันครับ เดี๋ยวลองมาดูกันใน แต่ละส่วนครับ System Requirement ส่วนที่ไม่น่าจะมีปัญหากับเครื่องที่อายุไม่เกิน 6 ปี Processor : ขั้นต้ำต้องมีความเร็ว 1 GHz 2 core และเป็น 64 bits ด้วย Memory : 4 GB ขึ้นไป Storage : 64 GB ขึ้นไป Graphics Card : รองรับ Direct X12 ส่วนใหญ่ HW ที่ซื้อมามักรองรับ Direct X ได้ 2-3 เวอร์ชั่นอยู่แล้วครับ Display : ตั้งแต่ 9 นิ้ว และ Resolution 720p Internet Connection : ถ้าคอมที่บ้านไม่น่าจะมีปัญหา แต่สำหรับองค์กรน่าจะมีความต้องการอื่นๆ เพิ่มเข้ามาครับ จากความต้องการในส่วนของ Processor / Memory / Storage / Graphics Card / Display น่าจะผ่านกันเยอะอยู่ครับ แต่จะมาตายจริงๆ อยู่…

บันทึกการ Implement RedHat 8 + Podman 2.0.5 หลังขึ้น Production ไปแล้ว 2 เดือน

วันนี้เป็นวันที่ได้นำระบบที่ใช้ RedHat 8 และมีการนำเทคโนโลยีใหม่อย่าง Container โดยใช้ Container Engine Podman ไปแล้ว 2 เดือนครับ ส่วนตัว Site นี้น่าจะเป็น Site แรกของไทยที่ได้ใช้ RedHat 8 และ Podman Container Engine บน Production ครับ ผมมีบันทึกประเด็นที่พบไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆที่ Search เจอครับ RedHat 8 ไม่มี locale th_TH.tis620 ลองดู locale ที่เป็น tis620 ด้วยคำสั่ง[root@invsdevapp01 ~]#localectl list-locales | grep TH th_TH th_TH.utf8 ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่มี locales th_TH.tis620 (ทดสอบ RedHat 8.0-8.3) ตรงนี้ผมเป็นจุดสังเกตุสำหรับระบบที่ต้องการ tis620 ครับ เปลี่ยนมาใช้ utf8 เถอะครับ สำหรับเคสนี้ ผมแก้ปัญหาโดยใช้กำหนด locales เป็น th_TH และทดสอบใช้งานกับ IBM DB2 11.5.4 โดยกำหนดตัว Database เป็น tis620 พบว่าระบบใช้งานได้ครับ ไม่มี ntpd ให้ใช้แล้ว ตรงนี้ System Admin ของลูกค้าโวยพอสมควร แต่มันมาจาก RedHat8 ครับ ที่ยกเลิกการใช้ ntpd และแนะนำให้ใช้ chronyd แทนครับ ด้าน Security มี System-wide cryptographic policies เพิ่มเข้ามาครับ สำหรับเรื่องอื่นๆของ RedHat 8 สามารถดู Release…

บันทึกอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 1 (SBS)

หลังจากที่ผมได้ฉีควัคซีนเข็มแรกไปในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เรามาลองสรุปอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนกันครับ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หลังจากฉีดวัคซีน และรอดูอาการ รับใบนัดเรียบร้อยตอน 17:45 อาการที่พบ หิวครับ เลยกินไก่จ๊ก กับข้าวต้มปลาไปครับ 20:00 เริ่มมีอาการปวด ชา ใต้จุดที่ฉีดวัคซีน แต่นอนไม่หลับของผมกว่าจะหลับก็ตี 1 ครับ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 05:27 ตื่นขึ้นมา มีอาการไข้ขึ้น ลองวัดไขได้ 37.1 C ขี้ตาสีเขียว แฉะ ผมเลยหาอะไรกินก่อนตอนช่วงๆเกือบ 6 โมงเช้า และกินยาพาราเซตามอล 2 เม็ด ช่วง 08:00 หิวอีก เลยกินข้าวอีกจาน และน้ำตามเยอะๆ 09:25 น้ำมูกไหล สีใสๆ 10:36 หิวอีกเลยหาขนมมากินแทน ตามด้วยน้ำเยอะๆ 13:30 ลองวัดไข้ 38.5 C และทานข้าวเที่ยง + ยาพาราเซตามอล 2 เม็ด และทำงานต่อไป 17:25 เดินเล่น 30 นาที แถวบ้าน 19:27 ลองวัดไข้ 38.7 C และทานข้าวเย็น MK + ยาพาราเซตามอล 2 เม็ด และทำงานต่อไป จนเข้านอนตอน 22:26 โดยทั้งวัน มีอาการปวด ชา ใต้จุดที่ฉีดวัคซีน 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564 06:11 ตื่นขึ้นมา รู้สึกว่าไม่มีไข้ ลองวัดไขได้ 36.2 C และมีอาการปวด ชา ใต้จุดที่ฉีดวัคซีนหนักกว่าวันที่ 10…

ทำมันม่วงร้อนๆ ผ่านไมโครเวฟ

หลังจาก WFH มานานครับ ไม่ได้ออกไปข้างนอกเลย คิดถึงเมนูมันม่วง เลยอยากกินมันม่วงร้อนๆครับ ผมเลยลองหาวิธี จากในเนตหลายๆที่ ผมขอสรุปวิธีการทำ ดังนี้ครับ เตรียมตัว ไมโครเวฟ มันม่วง กระดาษทิชชู่สำหรับเช็ด/รองอาหารครับ ขั้นตอนการทำ ใช้มีด หรือส้อม เจาะรูปที่มันม่วงครับ เพื่อให้ไอน้ำกระจายได้ดีขึ้น ตอนนี้จะเจาะยาก ดังรูป กระดาษทิชชู่สำหรับเช็ด/รองอาหารครับ ทำชุปน้ำ (ห้ามทำกระดาษขาด) แล้วนำมาห่อมันม่วง ดังรูป วางใส่ชามให้เรียบร้อย หยอดน้ำลงไป 1-2 ฝา ปิดฝา และอบในไมโครเวฟครับ โดยของผมใช้ ไมโครเวฟ 800 วัตต์ และใช้เวลาประมาณ 10 นาทีครับ เมื่อเวลาครบ ลองเอามีด หรือส้อม จิ้มดูครับ ถ้าจิ้มยากต้องเอาไปอบต่อครับ ลองแกะดูครับ อุ่นๆน่าทานเลยครับ

บันทึกการฉีดวัคซีน COVID-19 #01

ช่วงนี้โควิดระบาดเป็นรอบที่ 3 และรอบนี้ร้ายแรงกว่า 2 รอบถัดมาด้วยครับ แต่มีหลายระบบมาให้จองวัคซีนเสี่ยงทายด้วยครับ อาทิ เช่น ระบบหมอพร้อม แต่ไม่พร้อม ระบบดูหน่วงๆ ระบบ Operator มือถือต่างๆ AIS / DTAC / TRUE ที่สถานีกลางบางซื่อ ระบบของไทยร่วมใจ ระบบของประกันสังคม (ม33) สำหรับผมจองไปกับ 2 ระบบครับ ได้แก่ ระบบของประกันสังคม ทาง HR ของบริษัทจัดการให้ กับ ระบบของไทยร่วมใจ โดยผมดูและเวลาฉีดของระบบของประกันสังคมเร็วกว่าของระบบของไทยร่วมใจ เลยตัดสินใจมาเข้าฉีดวัคซีนกับระบบของประสังคมแทนครับ สิ่งที่ต้องเตรียมตัว บัตรประชนชนตัวจริง กรอกเอกสารให้เรียบร้อย เตรียมปากกามาด้วย พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาเยอะๆ Flow การเข้าฉีดวัคซีน ขั้นตอนการฉีดวัคซีนมี 5 จุดตามรูปเลยครับ ป้ายใหญ่บอกมี 5 จุด แต่ป้ายเล็กมี 6 จุด แต่มี 4 ป้าย ทำจริงมี 5 ขั้นตอน แต่ไม่เหมือนกันป้ายหลัก ฮ่าๆ แต่รวมๆก็คล้ายคลึงกันครับ และมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ครับ Flow การเข้าฉีดวัคซีน จริงๆ จุดแรก(จุดหนึ่ง) รอลงทะเบียน จุดนี้เป็นการนำเอกสารที่เตรียมไว้มาให้เจ้าหน้าที่ของประกันสังคมครับ โดยต้องยื่นบัตรประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่บันทึกเข้าระบบ และทางเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารมากรอกใหม่ ส่วนของเดิมที่พิมพ์ และเขียนมาไม่ได้ใช้ครับ และจะได้บัตรคิวมาครับ ของผมจะได้เลข 1042 สำหรับผมมาถึงจุดนี้ตอน 14:15 ครับ จุดสอง ลงทะเบียน และตรวจสอบสิทธิ จุดนี้ต้องรอทางเจ้าหน้าที่เรียงตามบัตรคิวครับ โดยจะเรียกทีละ 10-20 ท่าน จากนั้นส่งต่อให้ทางเจ้าหน้าที่ของ KTB เข้ามาช่วยในการลงทะเบียน และตรวจสอบสิทธิครับ ตรงนี้ต้องใช้บัตรประชนชน ที่ยังไม่หมดอายุ ? ถ้าหากเอกสารไม่มีปัญหาเราจะได้ เอกสารนำทางการฉีดวัคซีน ครับ ตอนเจ้าหน้าที่เรียกตอน 15:42 สำหรับผมบัตรประชาชนหมดอายุครับ แต่…