[CR] ลองชิมสลัดจาก 711

หลังจากเปลี่ยนเทรนการกินจากปิ้งย่าง มารักสุขภาพมากขึ้น วันนี้ได้ลองสลัดผักจาก 7-11 ในเครือ CP นะครับ ว่ามันจะดีกว่าสลัดที่ขายตามตลาดนัดอย่างไร ราคา 25 บาทครับ โดยที่ขายมี 2 รสชาติครับ รสธัญพืช + ไข่ต้ม รสผักสามสี + ไข่ต้ม แกะๆดูทีละอันครับ จะมีซองใส่น้ำซอส และส่วนประกอบต่างๆ ลองผสมคลุกเคล้าดูครับ ส่วนรสชาติ ออกจะจีดไปครับ อาจจะเป็นเพราะเป็นอาหารแช่เย็นมาครับ ปริมาณน่าจะเหมาะกับสาวๆนะครับ สำหรับคนหุ่นหมีอย่างเราไม่อิ่มแน่ๆ สุดท้ายยังคง ผมแนะนำไปให้หาซื้อสลัดถุงละ 25 -35 บาทมากินดีกว่าครับสดกว่า ปริมาณเยอะกว่าครับ ตรงนี้ต้องรอทีม Research ของ CP ทำการบ้านอีกสักพัก น่าจะคล้ายกับเคสของข้าวกล่องแช่แข็งที่ตอนแรกๆรสชาติออกมาไม่ดี แต่ภายหลังมีการปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ จนรสชาติอร่อย แถมยังราคาถูกกว่าร้านข้างทางบางร้านอีกครับ 😀

สายไฟที่ยุ่งเยิงกับซอฟต์แวร์ที่สับสน

ระหว่างทางไปทำงาน กลับบ้าน วิวรอบทางของมนุษญ์เงินเดือนในเมืองใหญ่ คงไม่พ้นกับสายไฟ สายโทรศัพท์ ดูๆไปแล้ว มันโคตรจะยุ่งเหยิง บดบังทศนีย์ภาพ แล้วถ้าเราเอาภาพของสายไฟ มาเปรียบกับ Software บ้างหละ สิ่งที่เราทำอยู่มันเป็นอย่างไร เริ่มที่ภาพแรกเลยและกัน ชุมสาย ชุม Code >> ยำ Code >> Spaghetti code ถ้ามี Change หละ คนแก้คงทำใจ ก่อนแก้ Code และจะต้องคิดหนัก ว่าแก้อย่างไร ไม่ให้กระทบ Code คนอื่น (สายไฟ สายโทรศัพท์ของเจ้าอื่นๆ) เปลืองสาย อันนี้ไม่แน่ใจว่า มีการขดสายไฟพันไว้ทำไม !!! แต่มุมของผมเดินผ่านมา 2 ปี ยังเหมือนเดิม ถ้ามองที่ Code เรา มันเขียนเผื่ออนาคตไปไหม หรือมี Logic แปลกๆ มาภาพที่ 2 บ้าง เหมือนภาพแรกเลย ถ้ามองเปรียบกับ Branch ที่ Code เราอยู่ ยุ่งเหยิง สายไฟ สายโทรศัพ์มันควบแน่นมากกกกกก ถ้าเป็น Code มันมีความยึดติดกันสูงงงงงง ภาพที่สาม แสดงถึงการถึงการเผางาน เผาเสร็จแล้วก็ไม่เก็บกวาด มองเป็นซากอารยธรรม ที่มันใช้งานได้ ภาพที่เหลือ ลองคิดคำบรรยาย แล้วไปเทียบกับ Code ดูครับ สุดท้ายแล้ว เห็นภาพนี้แล้ว คิดเยอะ Research เยอะๆ เก็บ Requirement ถามเยอะๆ ลูกค้าไม่รู้ ก็ต้องให้เค้ารู้ว่าต้องการอะไร Design & Develop โปรแกรม ให้ครอบคลุมตามที่ Research และเก็บ Requirement Test & UAT Rework & Change ตรงนี้ควรจะลดให้มากที่สุดดด เพราะ ค่าใช้จ่ายในการก่อหนี้ทิ้งไว้…

วันแรงงาน เมื่อโปรแกรมเมอร์ เป็นตัวละครในสื่อโฆษณา

วันนี้ระหว่างปั่นงานระบบ ฺBOT DMS ในวันแรงงาน ก็แว๊บไปเปิด youtube เพื่อฟังเพลง แลวบังเอิญเจอโฆษณาอันนี้ มันเป็นโฆษณาที่ผมต้องดูจนจบ เพราะ มันมีวลีนึงโผล่ขึ้นมา “แล้วเราจะเขียนโปรแกรมอย่างไร !!!” เจ้าโฆษณาตัวนี้เราจะได้เห็น ญาญ่า มาเขียน Code น่ารักด้วยยยย เข้าเรื่องดีกว่า พระเอก (หมาก) เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชั่น ถ้าภาษาบ้านๆทั่วไป คือ โปรแกรมเมอร์ ได้มี idea ที่จะนำอาหารเหลือที่ต้องทิ้ง ในแต่ละวัน มาสร้างประโยชน์ สร้างมูลค่าขึ้นมา ที่นี้คนในทีมมีประเด็นขึ้นมาว่า “อาหารเหลือเนี่ยนะ จะสร้างมูลค่ามหาศาล” “แล้วเราจะเขียนโปรแกรมอย่างไร !!!” แต่ก็มีแง่คิดที่ดีเหมือนกัน “Idea ดีๆบนโลกนี้ เริ่มมาจากคำว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละ” จากนั้นพระเอกก็ไปนั่นคิด นอนคิด หลายตลบบบบบ แต่มันก็คิดไม่ออก อีกคำนึงที่มาจากนางเอก คือ “คิดนอกกรอบ” จากนั้นทั้งคู่ออกมาระดมสมองหาไอเดีย ไปเรื่อยๆ จนทั้งคิดออกครับ โดยเปลี่ยนจากถังขยะ เป็น แอปพลิเคชั่น เพื่อเชื่อมระหว่างคนยากไร้ที่ต้องการอาหาร และร้านค้าที่มีอาหารเหลือครับ Win-Win สิ่งที่เราเห็นอีก คือ การออกแบบ ทำงานร่วมกัน Pair Programming ครับ (หวานนนนเหลือเกินน) และมีนักลงทุนมาสนใจร่วมพัฒนาครับ ท้ายที่สุด โฆษณานี้สร้างมาจากเรื่องจริงครับ ลองดูโฆษณาให้จบครับ สร้างแรงบันดาลใจ และเข้าใจคุณค่าในชีวิตของมนุษย์ครับ ลองดูนะครับ  

[DB2] Stored Procedure ช่วยลบข้อมูลเยอะๆ

IBM DB2

ในงานของเรา อาจจะมีการลบข้อมูลเยอะๆ ไม่ว่าใน DBMS ตัวไหนก็ตามครับ ถ้าเป็น DB2 ถ้าเราลบข้อมูลเยอะๆ อาจจะเจอปัญหา Transaction Log Full ได้ครับ ครั้นจะปิด Log แล้วลบทิ้ง ก็อาจจะมีปัญหาครับ เช่น ตัว HADR ถ้าปิด Log นี้ ไม่ Sync กันนะครับ ผมเลยมี Stored Procedure ที่ช่วยในการลบข้อมูล ดังนี้ครับ เห็น Code และมาดูก่อนว่า มันต้องใส่ Parameter อะไรบ้าง การทำงาน วน Loop DELETE ข้อมูลจนกว่า Query จะมี SQLCODE = 100 (No Data) ซึ่งหมายถึง ลบจนกว่าคำสั่ง DELETE จะไม่มีข้อมูลให้ลบครับผม 2019 Update: เพิ่มตัวอย่างการเรียกใช้งาน [DB2] ตัวอย่างการใช้งาน Stored Procedure DELETE_MANY_ROWS

มิวเซียมสยาม “พม่าระยะประชิด”

หลังจากปั่นงานเสร็จ เอออ เหลืออีก 0.5 วัน จะวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2559 แล้วววว เวลาเพียงอีกนิดเดียวเท่านั้น แต่อยากไปเที่ยว บังเอิญผมเห็น Ads ของ Facebook ที่เกี่ยวกับ มิวเซียมสยาม ผมเลยลองไปดูครับ หลักจากเคยไปมาเมื่อนานมากแล้ว น่าจะ 3-4 ปีแล้วมั้ง โดยนำเสนอคำที่แตกต่างกัน ในแต่ละส่วน ดังนี้ เกริ่นนำ : ไขกุญแจ และเปิดใจ ให้เราเข้าใจ เพื่อนบ้าน ของเรามากขึ้น เข้าสู่ AEC แล้วนะครับ ตักตวง-ตามฝัน : กล่าวถึงทำไมคนพม่า ถึงมาไทย แล้วเค้ามีความฝันอะไรครับ ขัดสน-สะสม : เมื่อมาอยู่ไทย ก็ต้องรับสภาพสังคม เศรษฐกิจของเมืองไทยได้ แม้ค่าแรงจะน้อย แต่สามารถรอมชอม แบ่งปันกันได้ อย่างเช่น ห้องเช่า 2 กะ หรือ การอยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน ได้อาหารที่มากขึ้น หลากหลาย แต่เงินที่ใช้เท่าเดิม รุ่มรวย-รุงรัง : ในแต่ละล๊อกเกอร์ จะบอกถึงแต่ละประเด็นของชาวพม่าในไทยครับ ต่างด้าว-ต่างชาติ : ส่วนใหญ่เราคิดว่าอยู่ในส่วนของแรงงาน แต่จริงๆแล้วชาวพม่าในไทย ทำงานในหลากหลายอาชีพครับ ทั้งอาจารย์ หมอ พยาบาล และพนักงานออฟฟิต เป็นต้น พลังธรรม-พลังทำ : ชาวพม่ามีความศรัทธาในศาสนาพุทธมากครับ ถ้าสังเกตุที่อยู่ของพวกเค้า พบว่าที่ทีเด่นที่สุด คือ หึ้งพระครับ และจากการที่ชาวพม่า เข้ามาอยู่รวมกันอยู่ด้วยกัน ก็เกิดเป็นพลังทำ มีเค้าน่าจะเรียกว่าแบนด์ของตัวเองปะ เป็นเสื้อกลุ่ม ชุมชนครับ รุกราน-แลกเปลี่ยน : ในอดีตไทยกับพม่า ไม่ถูกกัน จริงๆไม่น่าจะได้เป็นไทยกับพม่านะครับ น่าจะเป็นระหว่างรัฐมากกว่า และก็สงคราม ในสมัยก่อนชั้นปกครองเค้ามองเป็นกึ่งกีฬา และแนวคิดธรรมราชาด้วย (ไม่แน่ใจว่าใช้คำถูกไหม) แต่จริงๆประชาชน ชาวบ้านคงไม่อยากไปทำสงครามหรอก และในส่วนนี้แสดงความแตกต่างของประวัติศาสตร์ในเรื่องสงคราม ยุทธหัตถี ที่ทางไทยกับพม่า ที่มีการลงบันทึกแตกต่างกันครับ…

BarBQ Plaza บุฟเฟต์

กลับมาแล้วกับเทศกาลกินไม่ยั้งที่ทุกคนรอคอย “รีฟิล กินไม่สะดุด เต็มอิ่มครบรส”  วันนี้เป็นวันสุดท้ายของโปรบุฟเฟต์ วันที่ 10 เมษายน 2559 ผมกับน้องไปกิน BarBQ Plaza สาขา The Walk ครับ ที่นี้มีเอกลักษณ์อน่างนึ่งนะครับ คือ ใช้เตาแก๊สครับ มันทำห้เตาร้อนเร็วครับ แต่เดี๋ยวสักพักน่าจะเปลี่ยนเป็นเตาไฟฟ้า จากเหตุผลด้านความปลอดภัยครับ สำหรับโปรที่มี Happy Refill 349 บาท ต่อ ท่าน Super Refill 449 บาท ต่อ ท่าน อันนี้มีขอเพิ่มมาพอสมควรเลยครับ เป็นพวกอาหารทะเล Deluxe Refill 549 บาท ต่อ ท่าน อันนี้เพิ่มจาก 449 จากกุ้งตัวเล็กๆ เราจะได้กลุ่มแม่น้ำแทน และก็เนื้อสัตว์นำเข้าครับ ภาพบรรยากาศครับ ยังไง ผมขอไปจำศึล 8 เดือนก่อนนะครับ ช่วงต้นปี ถ้ามีหน้าจัดโปรบุฟเฟต์ใหม่ ค่อยไปเจอกันใหม่ครับ 😀

Technical Debt เขียน Code แล้วทำไมถึงติดหนี้ แถมมีดอกเบี้ยด้วย !!!

จากหัวข้อของบทความ หลายคนน่าจะสงสัยว่าทำไม “เขียน Code แล้วทำไมถึงติดหนี้ แถมมีดอกเบี้ยด้วย !!!” เดี๋ยวผมจะมาอธิบายครับ ว่าทำไมเราถึงได้สร้างหนี้ และหนี้ในการเขียน Code จริงๆ ก็ไม่เชิงนะ บอกว่าเป็นหนี้ในการพัฒนาระบบ น่าจะดีกว่าครับ โดยหนี้ที่เกิดขึ้นมี ดังนี้ครับ Acceptable – เป็นหนี้ในระยะสั้น และระยะยาวได้ประโยชน์ มองเป็นการลงทุนแนวๆ VI ได้เลยนะเนี่ย Make a trade-off to Hit a market window – ยอมลงทุน ผมไม่มองว่าเป็นหนี้นะ เพื่อให้ตามตลาดให้ทัน ในระยะสั้น อาทิ เช่น การเพิ่มการเชื่อมต่อกับ Social Network อย่าง FB, Twitter เป็นต้น Waiting for Right abstraction – รอแนวทาง การวางโครงสร้างของระบบี่ถูกต้อง เพื่อลดหนี้ในอนาคต Reflection and Learning about your domain or technology – มีการเรียนรู้ และไตร่ตรอง แนวทางของระบบ หรือ เทคโนโลยีใหม่ Receive new requirement that render the current solution insufficient – ได้รับ Requirement ใหม่ ที่ทำให้วิธีการแก้ปัญหาในตอนนี้ ไม่ตอบโจทย์ โดยอาจจะเป็นได้รับ Requirement แต่จะไม่เร่งด่วนเท่ากับข้อแรกนะครับ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เช่น การปรับให้โปรแกรมรองรับการ product ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากตลาดมากขึ้น เพื่อให้เกิด Innovation มี Feature ใหม่ครับ ไว้สำหรับ Sale ครับ เช่น ทำหน้า…

Proudly-Found-Elsewhere Syndrome

  Proudly-Found-Elsewhere Syndrome (PFE Syndrome) หรือ Invent Syndrome ความหมายของมันแตกต่างกับตัว Not-Invented-here Syndrome อย่างสิ้นเชิงเลยครับ คือ มีการสร้างงาน หรือ นวัตกรรมใหม่ขึ้นมาครับ สำหรับในมุมของ Software Development เป็นการนำ Library ที่ Common มาใช้งานเสริมได้ เวลาที่เหลือเราก็เอาไปใส่ใจกับส่วนของ Core Business มากขึ้นได้ครับ ส่วน PFE Syndrome คำแนะนำของผม คือ ต้องเปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ และคำนึงถึงความสมเหตุสมผลที่เลือกใช้ เพราะ มันไม่ได้มีวิธีการตายตัวที่ตอบโจทย์กับปัญหาต่างๆครับ และก็ท้ายที่สุด ผมมีบทความแนะนำครับ From not invented here to proudly found elsewhere โดยบทความกล่าวถึง Drupal เป็น CMS ยอดนิยม Blognone ใช้ตัวนี้อยู่ครับ โดยมีการเปลี่ยนจากที่ต้องทำเองทุกๆอย่าง (Not Invented Here) มาใช้ Library หรือ Tools ของชุนชมภายนอกแทน มาเชื่อมต่อกับตัว Core ของ Drupal ครับ (Proudly Found Elsewhere) แม้จะต้องปรับแก้เยอะ แต่ประโยชน์ที่ได้รับนั้นมี ดังนี้ครับ Tested Code Reused Code Open Source  

Not-Invented-Here Syndrome

Not-Invented-Here Syndrome

Not-Invented-Here Syndrome หลายคนอาจจะงง ว่า Blog นี้มันสาย IT นี่หว่า แต่แล้วทำไมมาเขียนแนวคุณหมอซะหละ สำหรับเจ้า Not-Invented-Here Syndrome หรือ NIT Syndrome คือ การยึดติดกับสิ่งเดิม ระบบความเชื่อความคิดของตนเองเป็นหลัก มักจะพบในหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีอายุยาวนาน และประสบความสำเร็จมากมายครับ ซึ่งเจ้าตัว Not-Invented-Here Syndrome มันเป็นตัวขัดขวางสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรม หรือ Innovation นั้นเองครับ โดยเจ้า NIT Syndrome มีส่วนที่ต่างๆ ที่บ่งบอกว่า หน่วยงาน หรือองค์กร กำลังจะเป็น ดังนี้ครับ แต่เจ้า NIT Syndrome มันก็ไม่ได้ร้ายเสมอไปนะครับ บางครับมันมีเหตุผลที่จำเป็นเหมือนกันนะครับ เช่น โมดูลนี้มันเป็น Core Business ถ้าไปหา Library มาใช้ก็ได้ แค่มันไม่ยืดหยุ่น หากมี Change เป็นต้น เขียนไปเขียนมา ก็โยงเข้าเรื่องทาง IT ได้เนอะ 55555  สำหรับการแก้ปัญหา NIT Syndrome ไม่ยาก แต่ต้องเปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ และคำนึงถึงความสมเหตุสมผลที่เลือกใช้ครับ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาครับ และใครที่อยากอ่านเพิ่มเติมลองไปดูในตาม Reference ที่ผมได้แนบมาด้วยครับ Reference

[CR] ลอง Jeffer Steak ชุด Extra 199 บาทครับ

Jeffer Steak เป็นร้านสเต็กสัญชาติไทย ราคาย่อมเยาว์คับ สามารถจัดราคาได้ตามที่พุงต้องการ 555 หลังจาก Coding กับเขียน Blog เสร็จ ผมก็มาใช่สิทธิลดหย่อนภาษีจากการกิน กินช่วยขาติ ไม่ใช่ไปโกงกินนะครับ แต่เป็นการกินในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ 9-17 เมษายน 2559 ครับ สำหรับวันนี้เมนูที่ลองเป็นชุด 199 เลือก Steak ได้ 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็น Pork Shop ถัดมาเป็นสเต๊กไก่ Jeffer สีน่าทานช่ายไหมม และก็ Topping ผมได้เลือกเป็นแบบ Extra เอามันอบแทน ดูดีกว่าข้าวผัด Jeffer กับ เฟรนฟราย มากครับ เอามันอบทานคู่กับซอสพริกไทยดำ เข้ากันได้ดี และรูปที่เหลือเป็นองค์ประกอบอื่นๆในจานครับ 😀 ท้ายที่สุด ร้านไม่มี Service Charge ครับ ดีเวอร์ เป๊ะปังสุดๆ