สรุป Live Money101: รู้ 9 ข้อนี้ การเงินน่าจะดีขึ้นมั้ง ? (TAXBugnoms x DataRockie)

ของผมเพิ่งเข้าคอมมาจดหลังจาก Live ไปนิดนึง อาจจะมีต่อหล่นไปบ้างครับ วันนี้คุณหนอม TAXBugnoms และ คุณทอย DataRockie มาคุยในหัวข้อ รู้ 9 ข้อนี้ การเงินน่าจะดีขึ้นมั้ง ?

เหมาะสำหรับเด็กจบใหม่ หรือทำงานมานานแล้ว มาทำเข้าใจเรื่อง Money Literacy (ความฉลาดทางการเงิน) สมัยผมเรียนไม่มีสอน มาเพิ่งรู้ตอนทำงานไปปีนึง และตอนจะเสียภาษีครับ

เรื่องการเงินควรจะจูน ให้คุยการภายในครอบครัวได้ด้วยนะ คุยกันได้ปกติ จะได้ช่วยกัน Recheck

the science of getting rich - เราต้องรอดก่อน มีพอใช้ ถึงจะช่วยเหลือคนอื่นๆได้ (คิดว่าเราทำได้ ตั้งใจ ลงมือทำ และแบ่งปัน)

1. เข้าใจสภาพคล่อง

รายได้ - ค่าใช้ค่าจ่าย = เงินออม + สภาพคล่อง

  • บัตรเครดิต มันเหมือนเหยื่อล่อ เราต้องใช้ให้เป็น ปัญหาการที่ส่วนใหญ่เจอ ตอนจ่ายเงินตอนสิ้นเดือน
    ส่วนผมไม่มีบัตรเครดิต นะเคยโดนดูถูกโดนเอาบัตรขว้างใส่หน้า เมื่อหลายปีก่อนเลยอคติไว้
  • ถ้าจะคุมตรงนี้ เราต้องรู้ก่อน ว่าเราจ่ายอะไรไป รู้ว่าอะไรจำเป็น/ไม่จำเป็น
    ผมเองหนังสือดอง ครอสดอง 5555 จริงวันนี้ก่อนมาฟัง live Plan ว่าจะเรียน เขียน Blog
  • การจะนับว่าสภาพคล่องมีอะไร ดูจากนี้ได้เลย
    - สถานการณ์ปกติ - รายจ่าย / เงินเก็บ
    - เคสพิเศษ เช่น
    โดน LayOff ต้องมาคิดสำรองถ้าไม่มีรายได้กี่เดือน เงินส่วนนี้ต้องเป็นเงินพร้อมใช้ ไม่ใช่เงินลงทุนนะ
    อนาคต จ่ายประกัน / ซื้อรถ

เงินสำรองที่เป็นเงินพร้อมใช้ ขึ้นกับความสบายใจ บางคนอาจจะบัญชีออมทรัพย์ / ฝากประจำ หรือ Money Market Fund ต้องเวลาว่าเรารอแค่ไหน เมื่อใช้เงินกี่วัน

2. แยกเงินให้เป็น - ออม หนี้ จ่าย

เราจะรู้ได้ยังไง ต้องทำ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย แต่ช่วยแก้ปัญหาได้ไหม

  • จดแล้ว ต้องมีการปรับตัวด้วย
  • จดแล้ว เอามา Prediction วางแผนล่วงหน้าด้วยนะ
  • ตั้ง Budget ไว้ มีกระเป๋าเงินแยกตามจุดประสงค์ แยกหลายกระเป๋า เช่น ออม / ใช้ส่วนตัว ฉุกเฉิน / รายจ่ายประจำ บัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ / ครอบครัว

หลาย App มีทำนะ Kept / Made by KBANK

ผมเอง เมื่อก่อนทำงาน 4-5 ปีแรกก็จดนะ ใช้ App MoneyLove แต่หลังๆงานมันเยอะเลยใช้วิธีหักไว้ก่อน โอนออกไปบัญชีอื่นๆ ใช้เท่าที่เหลือ ในบัญชีเงินเดือน - ปรับให้เข้า Style ตัวเอง แต่หักก่อนใช้ช่วยเราได้ดีกว่านะ - หรือ อีกแบบจัดการกับกิเลสตัวเอง แยกบัญชีกิเลส / คุมกิเลส

  • ปรับให้เข้า Style ตัวเอง แต่หักก่อนใช้ช่วยเราได้ดีกว่านะ
  • หรือ อีกแบบจัดการกับกิเลสตัวเอง แยกบัญชีกิเลส / คุมกิเลส มาดูว่าของที่เรามีอารมณ์ชั่ววูบไปได้ใช้ไหม หรือกองไว้
ตรวจสอบพฤติกรรมตัวเองให้ชัด
  • วิธีจ่าย พวกบัตรเครดิต QR มันง่ายไป หรือ พวก Auto Complete เงินมันไปง่าย เราต้องทำให้ยากขึ้น เช่น เอา Auto Complete จำบัตร ออกไป หรือ ไปใช้เงินสดแทน
  • เบิกเงินสด ให้เงินออกยากขึ้น และเห็นความยาก และปริมาณของมัน
  • จดบันทึก - จดเพื่อเอามาปรับปรุง อย่าจดเฉยๆ

3. ใช้สิ่งที่คนอื่นให้ - รู้สิทธิที่เราควรจะได้รับ จากงาน/ประชาชน

  • กองทุน PVD บางบริษัทมีให้ แต่เราเข้าใจการลงทุน ความเสี่ยง เลือก Plan ให้เหมาะสม และ ติดตามด้วยนะ

PVD ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่นะ คนน้อยก็ทำได้นะ

  • สวัสดิการ -ประกันกลุ่ม เบิกค่าเล่าเรียน / เลี้ยงข้าวเที่ยง เป็นต้น
  • ประกันสังคม
  • อื่นๆ พวก 30 บาท อ๋อบัตรทอง

สิทธิของตัวเอง และครอบครัวด้วยนะ เช่น เคสแม่ป่วย เราอาจจะหาสิทธิมาช่วยลดรายจ่าย เช่น ประกันสังคม / 30 บาท หรือถ้ายังไม่เกิดขึ้นทำประกันไว้

ตอนเลือกงาน ต้องดูพวกนี้ด้วย กลับมามองตัวเอง ใช้คอมส่วนตัวพังไป 3-4 เครื่อง รอไป 9 ปี กว่าจะได้คอมบริษัท

คุณทอยเล่าว่าที่อังกฤษมีกอง NHS ช่วยเอา 10% ของ GDP มาช่วยการรักษา แสดงว่าเราไปที่ไหน ต้องหาสิทธิไว้ด้วยถ้าไม่มีต้องหาประกัน Cover

4. ลดความเสี่ยง

  • ประกัน สุขภาพ (จ่ายทิ้งลดความเสี่ยง) / สะสมทรัพย์ (ถ้าเราอยู่จนถึง ได้เงินเป็นก้อน) / รถยนต์ / บ้าน เป็นต้น
  • การลงทุน จัดให้เหมาะสม ทั้ง กองทุน / PVD / หรือไปทางหุ้น ต้องเข้าใจว่า High Risk, High (expected) return

Product ทางการเงิน เราไม่ควรพูดว่าอะไรดีกว่าอะไร ทุกอย่างมันมีความเสี่ยง มี Trade Off หมด เช่น ประกันสุขภาพ / ประกัน Unit Link / กองทุนลดหย่อนภาษี / ลงหุ้น ไม่มีอะไรมาทดแทนกันได้

ใช้ให้ถูกกับงาน และความเหมาะสม

การเงินไม่ใช่เรื่องที่ต้องเก่ง เราทำให้ชีวิตเรารอด ไม่สร้างภาระให้คนอื่น เมื่อเราไม่อยู่แล้ว //ชอบอ่า

  • การมี CFP (Cert การเงิน) เป็นเรื่องที่ดีนะ เรียนไปและลงทุนไป
    - เมืองนอก เอาไปรับ Job ทำแผนการเงิน หารายได้นะ
    - เมื่องไทย อาจจะยากหน่อย มีโอกาศได้ ค่าคอมจาก Product การเงินที่ดูแล
  • Asset Allocation ตามภาระที่มี และความเสี่ยงที่มีในช่วงเวลาต่างๆ

5. รู้เป้าหมาย - เก็บเงินเพื่อ

  • เรียนต่อ - ของผมพอและ 55 จบโทแล้วหัวฟูครับ
  • แต่งงาน
  • ซื้อบ้าน วางแผนว่าอยู่นานแต่ไหน หรือ อาจจะต้องเผื่อ Exit Plan ด้วย ว่า ถ้าต้องขายต้องทำยังไง และมีอีกเทรน เช่า แทนการซื่อ รามิตร เศรษฐี (Ramit Sethi) - หนังสือ How to Get Rich
  • เกษียณ

การมีหนี้ ควรให้อยู่ใน 25-50% ของรายได้ ในแต่ละเดือน ต้อง Trade Off และจัดความสำคัญ ก่อนก่อหนี้

พออายุมากขึ้น เป้าหมายเราจะชัดขึ้น ตอนเด็ก อาจจะเขียนได้เยอะ พอโตขึ้น ผ่านโลกมากขึ้น เราจะ List ได้ชัดเจนขึ้น

  • กำหนดเป้าหมาย + กำหนดระยะเวลา ด้วยนะ จะได้จัดแผนการลงทุนให้เหมาะสม + ภาระรอบตัว ณ เวลานั้น เงินเย็น เงินร้อน และเงินถั่ว (อันหลังผมเติมเองนะ ทำงานเพื่อหาเงินมาถัว)
  • ลองได้ แต่ต้องจำกัดความเสียหายไว้ด้วย (ปล. นิยามเสี่ยง เราต้องเข้าใจกับ Product นั้นๆ และ แยกให้ออก การลงทุน กับการพนัน)

ถ้าเราเป็น The แบก เราต้องรู้นะว่าไหวแค่ไหนนะ ไม่ใช่รับมาหมดนะ มันคิดเยอะ มีความเสี่ยงที่ต้องเผื่อด้วยนะ เช่น เราป่วย ทำงานไม่ได้ระยะนึง เป็นต้น

6. เกษียณเมื่อไหร่ ?

หลังจากเกษียณ เราจะมีเงินเท่าไหร่ เพราะอนาคตเราต้องมีเงิน เกษียณ

  • หลังจากไม่มีแรงทำงานแล้ว อาจจะอายุ 60-70
  • หรือ เคสพิเศษเจ็บป่วย

แล้วเราต้องมีเพียงพอใช้ชีวิตไปได้กี่ปี จะลงทุนแบบ Passive / Active เพื่อให้ได้ตามที่วางแผนว่าจะมีชีวิตหลังจากนี้เท่าไหร่

7. ลงทุนยังไง

Asset Allocation - กระจายความเสี่ยง ความคล่องตัว มีหลาย Product ทางการเงินมากมายนะ

ให้ความรู้ตัวเองก่อน รู้ก่อน เข้าใจก่อน เจ็บน้อยกว่า >> ความรู้ของ SET "เงินทองต้องวางแผน"

ถ้าไม่รู้ แต่อย่ารีบ ลงน้อยๆ มี Limit ให้เราเข้าใจก่อน อย่างตามกระแส เดี๋ยวติดดอย หรือ เจอ RUG Pull

ระวังเรื่องขาดทุน อย่าให้มากกว่าเงินเฟ้อนะ อุ้ยเจ็บบบบบบบบอ่า

8. วางแผนภาษี

ภาษีเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ แค่ระวังทำให้ถูกกฏหมายด้วยนะ ถ้าอยากจ่ายน้อยลงให้หาช่องทางที่เตรียมไว้ให้ กองทุนลดหยอน บราๆ

NOTE: จากรูปปีนี้ 2024 TESG FUND ปรับเป็นไม่เกิน 300,000 บาทนะ

แต่การจะลดหย่อนได้ เราต้องมีเงินส่วนนี้มาลดนะ และเข้าใจฐานภาษีด้วยนะ

NOTE: ทำไมภาษีนิติบุคคล น้อยกว่าภาษีส่วนบุคคล เพราะอยากให้คนเราเป็นเถ้าแก่ ทำบริษัท เพราะระบบบริษัทมันตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายกว่า

ถ้ามีการลงทุน มีพวกเครดิตภาษีเงินปันผล ให้ศึกษาเพิ่มเติม

9. ระยะทางนั้นยาว

เริ่มวันนี้ และต้องหมั่นตรวจสอบ ในสาย IT จะมีคำ Observability เราติดตาม มีวินัย และควบคุมในส่วนตัวเอง และเผื่อปัจจัยอื่นๆ ที่เราคุมไม่ได้ด้วย

การเงิน ไม่ใช้ทำวันนี้แล้วจบ
ต้องมี Monitor แล้ว Check
และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมด้วยนะ

Reference


Discover more from naiwaen@DebuggingSoft

Subscribe to get the latest posts sent to your email.