ช่วงนี้หลายๆคนที่เล่นหุ้น น่าจะได้ยินข่าวว่าหุ้นหลายตัว อาจจะทำการ "ลด Par ล้างหนี้" เพื่อล้างขาดทุนสะสมหมดไป แต่....สำหรับแมงเม่าน้องใหม่อย่างเรานั้น มันจะมีผลอะไรเกิดขึ้นกับเรา หรือไม่ ?
ก่อนอื่นที่เราจะไปถึงเรื่องลด Par สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนว่า "Par" คือ อะไร
Par คือ ราคาที่เจ้าของกิจการกำหนด หรือจัดสรรขึ้นมา เพื่อให้ได้หุ้น 1 หน่วยครับ ตอนที่เริ่มทำธุรกิจ โดยคิดง่ายๆจาก
ทุนจดทะเบียน(ทุน) / จำนวนหุ้น = ราคา Par
ตัวอย่าง ถ้ามีทุนจดทะเบียน(ทุนตั้งต้น) ตั้งบริษัทจำนวน 100,000 บาท โดยแบ่งเป็น
100,000(ทุน) / 10,000(จำนวนหุ้น) = 10 บาทต่อหุ้น (ราคา Par)
ตอนนี้เรากลับมาที่ ลด Par ล้างหนี้กันครับ โดยการลด Par เพื่อล้างหนี้ คือ เทคนิคทางการบัญชีมาปรับขาดทุนสะสม โดยการลดราคา Par ลงมา เดี๋ยวผมอธิบายในตัวอย่างเลยและกัน เพราะมันต้องมีคามเข้าใจ เรื่องบัญชีส่วนหนึ่ง
สมการบัญชีที่ทุกคน่าจะรู้จัก คือ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ยกตัวอย่างต่อจากข้อที่แล้วเลย คือ ทุน = 100,000 โดยสมการที่ได้เป็น
100,000(สินทรัพย์) = 0(หนี้สิน) + 100,000(ทุน) ณ จุดนี้หนี้สินเป็นศูนย์
แต่เมื่อบริษัทของเราดำเนินกิจการระยะหนึ่งเกิดขาดทุน 10,000 บาทมา ประเด็น คือ เราจะเอาอะไรไปโป๊ะ ถ้าไม่กู้มาเพิ่ม ก็ต้องเอาจากทุนไปจ่าย ซึ่งถ้าเลือกทุนไปจ่าย ส่วนของทุนต้องติดลบไป(เหลือ 90,000 บาท เอาไปโป๊ะขาดทุน 10,000 บาท) แต่เวลาลงบัญชีจะลงในส่วนของหนี้สิน โดยสมการที่ได้เป็น
100,000(สินทรัพย์) = 10,000(หนี้สิน) + [90,000-10,000] (ทุน)
สรุป คือ ตอนนี้ส่วนที่ขาดทุน หรือ หนี้สิน เราเอาเงินจริงๆ (ทุน) จ่ายไปเรียบร้อยแล้ว แต่ในทางบัญชียังคงมีบันทึกอยู่ ซึ่งถ้ามีกำไรขึ้นมาก็ควรจะเอาไปหักหนี้สิ้นให้หมดก่อน เพื่อที่จะนำเงินส่วนที่เหลือไปทำอย่างอื่น เช่น การจ่ายปันผล หรือ ลงทุนเพิ่ม แต่เราสามารถเสกหนี้ให้หายไป เพื่อนำเงินส่วนที่ต้องไปหักล้างหนี้สินไปทำอย่างอื่นได้ โดยการลดสินทรัพย์ลง จะเป็น
90,000(สินทรัพย์) = 0(หนี้สิน) + 90,000(ทุน)
ที่นี้เมื่อเราปรับหนี้เป็น 0 เราต้องปรับทุนให้เท่ากับสินทรัพย์ คือ การมาปรับลด Par ให้ลดลงแทน จาก 10 บาท เหลือ 9 บาทแทน เพื่อให้สมการมันดุลกันได้ดังนี้ ครับ
9 (ราคา Par) x 10,000 (จำนวนหุ้น) = 90,000(ทุน)
หวังว่าผู้อ่านหลายๆคนคงเข้าใจข้อมูลมากขึ้นครับ ความเสี่ยงที่สูงที่สุด คือ การไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่สนใจครับ
หมายเหตุ:
- ตรงนี้ผมอธิบายง่ายๆ ไม่เอาปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ เดี๋ยวจะงงไปกันใหญ่ ^____^
- หลายคนอาจะสงสัย ถ้าไม่ลดราคา Par แต่ไปลดทุนจดทะเบียน มันจะเกิดอะไรขึ้น เดี๋ยวผมอธิบายไว้ใน Blog ตอนต่อไปนะครับ
Discover more from naiwaen@DebuggingSoft
Subscribe to get the latest posts sent to your email.