Repurchase Agreement (REPO)

เนื่องจากช่วงนี้ผมได้มา Modernize ตัว Legacy Code ของธุรกรรม Repurchase Agreement หรือ REPO เลยคิดว่ามาบันทึกไว้ใน Blog สักหน่อยครับ

Repurchase Agreement (REPO) คือ อะไร

REPO คือ ธุรกรรมซื้อคืน หรือการประกอบธุรกิจซื้อหรือขายคืนหลักทรัพย์ โดยมีหลักทรัพย์ที่มูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงรุนแรง ส่วนใหญ่ใช้ ตราสารหนี้ทั้งภาครัฐ (Government Bond) หรือ เอกชน (Corporate Bond) หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน(PN) เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral) และมีสัญญาซื้อหรือขายคืนครับ โดยที่

  • ผู้ที่ขาย เอาหลักทรัพย์มาค้ำ
  • ผู้ซื้อ รับหลักทรัพย์นั้นไปถือไว้ชั่วคราว ทำสัญญา + กำหนดอัตราดอกเบี้ย (Repo Rate) วันที่รับซื้อคืน และให้เงินแก่ผู้ขายครับ

เมื่อถือวันซื้อคืน ทางผู้ขายจะเอาเงินมาไถ่ถอน + ดอกเบี้ย ถ้ามองแบบบ้านๆ มัน คือ โมเดลโรงรับจำนำแหละครับ

ตัวอย่างของ REPO

ในวันที่ 23 เมษายน 2563 บริษัท A ตกลงให้บริษัท B กู้เงิน จำนวน 12,000,000 บาท โดยที่บริษัท B นำพันธบัตรรัฐบาลมาเป็นหลักประกัน และสัญญาจะคืนเงินจำนวนนี้พร้อมกับดอกเบี้ยอีก 5 % ในอีก 60 วันข้างหน้า ดังนั้น บริษัท A จะต้องคืนเงินให้กับบริษัท B ในวันที่ 22 มิถุนายน 2563 โดยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย (Repo Rate) ดังนี้

(เงินต้น × อัตราดอกเบี้ย Repo × จำนวนวันของ Repo)/365 = ดอกเบี้ย

เมื่อถืง 22 มิถุนายน 2563 มาซื้อคืน ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเงิน 12,986,301.369 บาท (ดอกเบี้ย = 986,301.369 บาท)

จริง Repo Rate มีหลายสูตรนะ ตอนนี้พันกับ THOR Rate

ประโยชน์ของ REPO

เรียกว่าเป็นกลไกเสริมสภาพคล่องของสถาบันการเงิน หมุนเงินนั่นเอง 555 ให้ระบบการเงินมันมีความสมดุล และมีความน่าเชื่อถือ เพราะ หลักทรัพย์มาค้ำถูกบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์จริงๆ ถ้ามีการผิดนัดชำระ สุดท้ายผู้ที่ซื้่อยังสามารถเอาหลักทรัพย์ที่ค้ำไปทำ REPO ต่ออีกทีก็ได้ อาจจะกินส่วนต่างเพิ่ม เป็นต้น

รูปแบบของ REPO

  • Bilateral Repo เป็นการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินต่างๆ หรือ เป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้กู้ กับผู้ให้กู้ เพื่อดูดซับหรือปล่อยสภาพคล่องแบบชั่วคราว เพื่อให้ปริมาณสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการสภาพคล่องของระบบการเงิน​ ซึ่งมีข้อกำหนด เช่น หลักทรัพย์ที่เป็นค้ำประกันต้องเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันเท่านั้น
  • Private Repo เป็นการทำธุรกรรมระหว่างภาคเอกชนด้วยการเอง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เช่น หลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน / ระยะเวลาของสัญญา หรือ Repo Rate เป็นต้น

Reference


Discover more from naiwaen@DebuggingSoft

Subscribe to get the latest posts sent to your email.